Jang Ok-Jung, Live for Love
ชื่อหนัง (เกาหลี/จีน/ญี่ปุ่น) :
Jang Ok-Jung, Sarange Salda
ชื่อหนังอื่นๆ :
Jang Ok Jung / Jang Ok Jung, Live for Love / Jang Ok Jung, Live By Love / Jang Ok Jung, Lives in Love
นักแสดง :
Kim Tae Hee, Yoo Ah In
กำกับโดย :
Boo Sung Chul
จำนวนตอน:
24
ประเภท :
Period, Romance
Produced By:
N/A
Written By:
Choi Jung Mi
ปี :
2013
ออกอากาศ :
8 เม.ย. 2013 - 25 มิ.ย. 2013
ออกอากาศ (เพิ่มเติม) :
ออกอากาศทาง SBS ทุกวันจันทร์และวันอังคาร เวลา 20:55 น

เรื่องย่อ:

ละครเรื่องเป็นเรื่องราวของจางโอ๊คจองหรือเจ้าจอมจาง ฮีบินที่เป็นนางสนมที่มีคนรู้จักมากที่สุดของเกาหลีใ นยุคสมัยโจซอน แต่ที่ผ่านมาทุกๆ คนเข้าใจว่าเธอเป็นคนที่พยายามไขว่คว้าอำนาจ

เรื่องนี้จะนำเสนอในมุมมองใหม่ของจางโอ๊คจองและบอกเร ื่องราวก่อนที่เธอจะได้มาเป็นนางสนม พร้อมเธอยังมีบทบาทในวงการแฟชั่นเกาหลีและเครื่องสำอ างค์ในสมัยนั้น โดยละครเรื่องนี้จะเน้นที่ความรักระหว่างกษัตริย์ซอค จงและจางโอ็คจอง

จางโอ๊คจองเกิดจากแม่ที่เป็นทาส เธอมีลุงที่ร่ำรวย แต่ลูกพี่ลูกน้องของเธอที่เป็นลูกของลุงเกิดไปมีความ สัมพันธ์ลึกซึ้งกับเจ้าชาย ทั้งๆ ที่เธอเป็นนางในและไม่สามารถมีความสัมพันธ์กับคนอื่น ได้ หลังจากนั้นเธอยอมรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว และปลิดชีวิตของเธอทิ้ง เพื่อสิ้นสุดปัญหาที่จะเกิดกับครอบครัวของเธอและผู้ช ายคนที่เธอรัก

พ่อของจางโอ๊คจองพาเธอและครอบครัวแยกตัวออกมา หลังจากนั้นพี่ชายของเธอต้องยอมวิ่งล่อคนไล่ตาม ทำให้พวกเขาต้องพลัดพรากจากกันไป แต่แล้วเมื่อไปถึงบ้านสนิทของพ่อจางโอ๊คจองก็ทราบว่า เพื่อนของพ่อจากโลกนี้ไปเสียแล้ว พ่อของเธอเสียชีวิตอย่างกระทันหันในขณะที่พ่อของเธอย ืนยันว่า จางโอ็คจองไม่ใช่ทาสอีกต่อไป แต่แม่ของเธอถูกจับตัวกลับไป

จางโอ๊คจองเย็บผ้าที่จะให้พ่อของเธอสวมใส่ และเจ้าของบ้านได้เห็นและให้ความช่วยเหลืออบรมสั่งสอ นเธอในเรื่องของเครื่องแต่งกายต่างๆ และที่นั่นเองทำให้เธอได้พบกับฮยอนชิซูที่เจ้าของบ้า นเก็บมาเลี้ยงในฐานะลูกชายของเธอ

ในช่วงเวลานั้นจางโอ๊คจองได้พบกับอีซุนที่ภายหลังเป็ นกษัตริย์ซอคจงโดยบังเอิญ พวกเขาได้มีสัญญามั่นแก่กัน แต่อีซุนติดปัญหาในวังจึงทำให้พวกเขาไม่ได้พบกันอีกเ ลย

เมื่อจางโอ๊คจองพบกับรัชทายาทอีซุนอีกครั้งก็เข้าใจผ ิดว่า เขาคือคนที่เธอต้องไปวัดตัวตัดชุดให้ แต่รัชทายาทอีซุนเกิดคุ้นเคยใบหน้าของเธอ หลังจากนั้นพวกเขาก้ได้พบกันอีกหลายครั้ง เรื่องราวความรักของพวกเขาจะเริ่มต้นกันอย่างไร ต้องคอยติดตามจากละคร
รายละเอียดนักแสดง :

Kim Tae Hee รับบท Jang Ok Jung (ภายหลังเป็นเจ้าจอมจางฮีบิน)
Kang Min Ah รับบท Jang Ok Jung ตอนเด็ก

Yoo Ah In รับบท กษัตริย์ Suk Jong
Chae Sang Woo รับบท Lee Soon (ภายหลังเป็นกษัตริย์ซอคงจง)

Hong Soo Hyun รับบท ราชินี In Hyun
Jae Hee รับบท Hyun Chi Soo
Baek Seung Hwan รับบท Hyun Chi Soo ตอนเด็ก

Lee Sang Yeob รับบท Dong Pyung Goon Yi
Hang Kwak Dong Yun รับบท Dong Pyung Goon ตอนเด็ก

Han Seung Yeon รับบท Choi Musuri (ภายหลังกลายเป็นเจ้าจอม Choi Suk Bin)

Sung Dong Il รับบท Jang Hyun
Lee Hyo Jung รับบท Min Yoo Joong
Kim Seo Ra รับบท แม่ของ Ok Jung, นายหญิง Yoon
Go Young Bin รับบท Jang Hee Jae
Kim Sun Kyung รับบท ราชินี Kim
Lee Hyo Choon รับบท พระพันปี Jo
Ah Young รับบท เจ้าหญิง Myung Ahn
Lee Dong Shin รับบท Kim Man Ki
Kim Ha Eun รับบท ราชินี In Kyung
Yoon Yoo Sun รับบท นายหญิง Kang
Jang Young Nam รับบท ซางกุง Chun
Ji Yoo รับบท Ja Kyung
Kim Min Ha รับบท Ja Kyung ตอนเด็ก

Choi Sang Hoon รับบท Jo Sa Suk
Lee Hyung Chul รับบท Bok Sun Goon
Bae Jin Sub รับบท Hyun Moo
Lee Gun Joo รับบท Yang Goon
Kim Ga Eun รับบท Hyang Yi
Lee Hyo Rim รับบท Seol Hyang
Lee Ja Min รับบท Yeon Hong
Kim Se In รับบท Jung Hon Ja
Kim Nan Joo รับบท ซางกุง Choi



พระเจ้าซุกจง กษัตริย์องค์ที่ 19 แห่งราชวงศ์โซซอน (ครองราชย์ 15 สิงหาคม 1674 – 1720) นักมายากลการเมือง

พระเจ้าซุกจง มีพระนามเดิมว่า ลีซุน เป็นพระโอรส ในพระเจ้าฮยอนจง กษัตริย์องค์ที่ 18 แห่งโซซอน และมเหสีมยองซอง (พระพันปีมยองซอง) โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์รัชทายาท เมื่อปี ค.ศ. 1667 เมื่อพระชนม์มายุ 6 พรรษา และปี ค.ศ. 1674 พระองค์ได้ก้าวสู่ราชบัลลังก์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 19 แห่งราชวงศ์โซซอน เพียงพระชนม์มายุ 14 พรรษา กับปณิธานอันแน่วแน่ที่ไม่อยากเป็นเพียงหุ่นเชิดให้ข ุนนางสั่งซ้ายหัน ขวาหัน รัชสมัยของพระเจ้าซุกจง ขุนนางในราชสำนักแบ่งเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน รุนแรงและดุเดือน ระหว่างกลุ่มฝ่ายตะวันตก และกลุ่มฝ่ายใต้ โดยระยะแรกนั้นกลุ่มฝ่ายตะวันตกค่อนข้างที่จะเป็นต่อ ซึ่งสามรถผลักดันสตรีถึง 2 นางเป็นมเหสีของพระเจ้าซุกจง สตรีนางแรกคือพระมเหสีอินคยองที่อภิเษกตั้งแต่พระเจ้ าซุกจงเป็นรัชทายาท ซึ่งอายุไม่ยืน ลาลับไปก่อน สตรีนางที่ 2 เป็นใครไม่ได้นั้นคือมเหสีตระกูลมิน ที่เรารู้จักกันในนามพระมเหสีอินฮยอน
ฝ่ายใต้บางคนก็ไม่อยากให้พระองค์เป็นกษัตริย์สักเท่า ไร ในปี ค.ศ. 1680 ฝ่ายใต้พยายามก่อกบฏ ยกองค์ชายพงซอนเป็นกษัตริย์ ทำให้เหตุการณ์ตอนนั้นฝ่ายใต้ถูกกำจัดเป็นจำนวนมาก กลุ่มตะวันตกจึงมีอำนาจอย่างสุดขีดในราชสำนักตอนนั้น กลุ่มฝ่ายใต้เพื่อจะได้กลับมามีอำนาจอีกครั้ง จึงได้สนับสนุน จางอ๊กจองเป็นพระสนม ประกอบกับพระเจ้าซุกจง ก็มีความรักให้กับจางอ๊กจอง ซึ่งฝ่ายตะวันตกไม่ปลื้มเลยแม้แต่น้อย พระองค์จึงเห็นช่องทางเริ่มเกมส์กำจัดอำนาจฝ่ายตะวัน ตก ด้วยการแต่งตั้ง จางอ๊กจอง เป็นสนมซุกวอน และเมื่อจางอ๊กจองประสูติพระโอรส จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสนมเอกจางฮีบิน พระเจ้าซุกจงพยายามแต่งตั้งโอรสของจางฮีบิน เป็นองค์ชายรัชทายาท จึงสร้างความขัดแย้งให้ราชสำนักอีกครั้งโดยกลุ่มฝ่าย ใต้นั้นเห็นด้วยอย่างยิ่ง ยิ้มร่า สนับสนุนอย่างไม่ลดละ แต่กลุ่มตะวันตกนั้นคัดค้านหัวชนฝา หัวเด็ดตีนขาดก็จะให้เป็นแบบนั้นไม่ได้ สุดท้ายเกมส์การเมืองจบลงโดยการเนรเทศกลุ่มตะวันตก รวมทั้งปลดและขับมเหสีอินฮยอนที่เป็นสัญลักษณ์กลุ่มต ะวันตกออกจากวังหลวง พระเจ้าซุกจงจึงได้แต่งตั้งโอรสของจางฮีบิน เป็นองค์รัชทายาทแห่งโซซอนสำเร็จ ทำให้กลุ่มฝ่ายใต้มีอำนาจอย่างสุดขีด พร้อมกับการสนับสนุนจางฮีบิน เป็นพระมเหสีแทนพระมเหสีอินฮยอน เมื่อปี 1688 เรียกว่า การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองปีคีซา กลุ่มฝ่ายใต้เสวยสุขอยู่เพียง 6 ปี ในปี ค.ศ. 1694 ความสั่นคลอนก็มาถึง เมื่อขุนนางฝ่ายตะวันตกถวายฎีกา ให้ทรงดูแลอดีตพระมเหสีอินฮยอน เกมส์การเมืองจึงกลับตาลปัตร เมื่อพระเจ้าซุกจงคิดได้ว่า ยังมีภรรยาอีกคนที่ทิ้งนางไว้เสียนาน ประกอบกับอำนาจของพระมเหสีจางและฝ่ายใต้ที่ยากควบคุม ได้ จึงตัดสินใจรับให้มเหสีอินฮยอนกลับเข้าวัง เป็นมเหสีดังเดิม และปลดพระมเหสีจาง เป็นพระสนมเอกเหมือนเดิม เรียกว่า การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองปีคัปซุล พร้อมทั้งมีดำริห้ามแต่งตั้งพระสนมเป็นพระมเหสีอีก แต่ไม่ปลดองค์รัชทายาท ให้องค์รัชทายาทอยู่ในการดูแลของมเหสีอินฮยอน กลุ่มตะวันตกจึงทะยานสู่อำนาจอีกครั้ง
ปี ค.ศ. 1701 พระมเหสีอินฮยอน สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน เหตุการณ์ไม่จบลงแค่นั้น เมื่อสืบทราบได้ว่า พระสนมจางฮีบิน และญาติของนางอยู่เบื้องหลัง พระเจ้าซุกจงจึงมีพระราชโองการประหารชีวิต นำไปสู่การล่มสลายของฝ่ายใต้ ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายใต้กับฝ่ายตะวันตกจึงปิดฉากลง และค.ศ. 1702 พระเจ้าซุกจงได้อภิเษกกับมเหสีอีกพระนาง คือ พระมเหสีอินวอน ในปลายรัชสมัยนั้น กลุ่มขุนนางฝ่ายตะวันตกได้แตกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายโซรน (ขุนนางหัวใหม่) สนับสนุนองค์ชายลียุน องค์รัชทายาท (พระเจ้าคยองจง) ส่วนอีกฝ่าย ฝ่ายโนรน (ขุนนางหัวเก่า) สนับสนุนองค์ชายยอนอิง พระโอรสพระสนมชอยซุกบิน (พระเจ้ายองโจ) 2 ปีสุดท้ายของรัชกาลพระเจ้าซุกจง พระเจ้าซุกจงได้แต่งตั้งองค์รัชทายาทเป็นผู้สำเร็จรา ชการ โดยพระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อ ปี ค.ศ. 1720 มีพระชนม์มายุรวม 60 พรรษา ครองราชย์ยาวนานถึง 46 ปี




พระมเหสีอินคยอง ( ราชินีองค์แรกของพระเจ้าซุกจง)


พระมเหสีอินคยอง (Queen Ingyeong) ตระกูลคิม แห่งควางซาน ธิดาของ Kim Man-gi และภรรยาตระกูล Han แห่ง Cheongju อภิษกสมรสกับพระเจ้าซุกจงเมื่ออายุ 10 ปี ซึ่งขณะนั้นพระเจ้าซุกจงยังเป็นเพียงองค์รัชทายาท (Wangseja) ดังนั้นคุณหนูจากตระกูลคิม จึงเข้าวังมาในฐานะพระชายารัชทายาท (Wangsejabin)

ค.ศ. 1674 องค์รัชทายาทอีซุนขึ้นครองราชย์ พระนามว่า พระเจ้าซุกจง ทำให้พระชายาตระกูลคิมได้ดำรงตำแหน่งมเหสี พระนามว่า พระมเหสีอินคยอง

เดือนตุลาคม ค.ศ. 1680 พระนางป่วยเป็นโรคฝีดาษและสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นเพี ยง 8 วัน ที่พระราชวัง Changdeok ด้วยอายุเพียง 20 ปี พระศพถูกฝังไว้ที่สุสาน Ikneung/Ingneung ในจังหวัด Gyeonggi

พระมเหสีอินคยองมีพระธิดา 2 พระองค์ คือ องค์หญิง Myeong-sun และ องค์หญิง Myeong-hye แต่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเด็ก

เพิ่มเติม: สำหรับตระกูลคิมแห่งควางซานของพระมเหสีนั้น ในสมัยโชซอนถือได้ว่าเป็นตระกูลที่มีชื่อเสียงมาก สามารถอ่านได้ในบันทึก เกร็ดความรู้จากซีรี่ย์เรื่องต่างๆ เรื่องที่ 15. ว่าด้วยเรื่อง ตระกูลคิมแห่งควางซาน หรือ
ในสมัยโชซอนมีตระกูลขุนนางที่มีชื่อเสียงหลายตระกูล สำหรับการจัดลำดับของตระกูลขุนนางนั้นจะขึ้นอยู่กับต ำแหน่งและเกียรติยศที่สายตระกูลนั้นได้รับ

สำหรับ ตระกูลคิมแห่งควางซาน ถือเป็นหนึ่งตระกูลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัยโชซ อน เนื่องจากเป็นตระกูลที่รับราชการกันมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยโชซอนนั้นบุคคลในตระกูลนี้ได้รับตำแหน่งต่างๆ ได้แก่
1. นักปราญช์ 2 คน
2. ที่ปรึกษาของรัฐ 5 คน
3. หัวหน้านักวิชาการ 7 คน
4. บัณฑิตที่สามารถสอบเข้ารับราชการ 265 คน
5. บรรณาธิการ 4 คน
6. ราชินี 1 คน
บรรพบุรุษของตระกูลคิมแห่งควางซานคือ Kim Heung-gwang ซึ่งเป็นโอรสองค์ที่ 3 ของกษัตริย์แห่งชิลลา ตระกูลคิมแห่งควางซานที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร ็จมากที่สุดมาจากสายตระกูลของ Kim Jangsaeng ซึ่งเป็นนักปราญช์ และลูกชายของ Kim Jangsaeng คือ Kim Jip เป็นนักปราญช์เช่นเดียวกันและ Kim Ban ลูกหลานของ Kim Ban นั้นเป็นนักวิชาการมากมายได้แก่ หัวหน้านักวิชาการ 7 คน และบัณฑิตที่สามารถสอบเข้ารับราชการ 74 คน จนกระทั่งมาถึงทายาทรุ่นที่ 3 หนึ่งในทายาทรุ่นนี้คือ Kim Man-gi ซึ่งเป็นหัวหน้านักวิชาการ มีงานเขียนที่มีชื่อเสียง ได้แก่ The Cloud Dream of the Nine และ A Record of Lady Sa s Trip to the South และนอกจากนี้ Kim Man-gi ยังเป็นบิดาของ Queen In-gyeong ราชินีองค์แรกของพระเจ้าซุกจงอีกด้วย





พระมเหสีอินฮยอน ( ราชินีองค์ที่สองของพระเจ้าซุกจง)

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีอินคยอง คุณหนูจากตระกูลมิน ธิดาของ Min Yu-jung และภรรยาตระกูล Song แห่ง Eunjin พระนางมีพี่ชาย 2 คน คือ Min Jin-hu ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของจักรพรรดินีเมียงซอง และ Min Jin-won และยังมีพี่สาว 1 คนและน้องสาว 1 คน นอกจากนี้ยังเป็นญาติกับ Song Si-yeol ซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายตะวันตกในขณะนั้น ได้รับการคัดเลือกเข้ามาเป็นพระมเหสีองค์ที่ 2 ในพระเจ้าซุกจง โดยพระพันปีมยองซอง พระมารดาพระเจ้าซุกจง เมื่อปี ค.ศ. 1681 ขณะมีอายุ 14 ปี ได้รับพระนามว่า พระมเหสีอินฮยอน

ถึงแม้ว่าจะมีผู้สนับสนุนพระมเหสีองค์ใหม่มากมาย แต่ความสัมพันธ์ระหว่าพระเจ้าซุกจงและพระมเหสีก็ไม่ไ ด้เป็นไปดั่งที่ทุกคนคาดหวัง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการที่พระมารดาของพระเจ้าซุกจง ได้มีคำสั่งให้จางซังกุงออกไปพักอยู่นอกวัง พระมเหสีอินฮยอนจึงได้แต่งตั้งสตรีจากตระกูลคิม (ภายหลังคือ สนมยองบิน ตระกูลคิม แห่งอันดง) ขึ้นมาเป็นสนมคนใหม่เพื่อเบนความสนใจของพระเจ้าซุกจง จากจางซังกุง แต่ก็ไม่เป็นผล

ค.ศ. 1688 สนมจางได้ให้กำเนิดโอรสองค์แรก พระเจ้าซุกจงต้องการให้ พระโอรสขึ้นดำรงตำแหน่งรัชทายาท และเลื่อนขั้นสนมจางโซอึย เป็น จางฮีบิน ซึ่งฝ่ายตะวันตกที่สนันสนุนพระมเหสีไม่เห็นด้วยกับกา รตัดสินใจของพระเจ้าซุกจงและคัดค้านอย่างหนัก จากเหตุการณ์นี้ทำให้พระเจ้าซุกจงโกรธมาก นำไปสู่เหตุการณ์การเปลี่ยนขั้วอำนาจ โดยทรงสั่งลงโทษ Song Si-yeol ผู้นำ และขุนนางฝ่ายตะวันตก รวมถึงการปลดพระมเหสีอินฮยอนและครอบครัว และแต่งตั้งสนมจางขึ้นเป็นมเหสี

ค.ศ. 1694 พระเจ้าซุกจงทรงรู้สึกผิดต่อเหตุการณ์ในครั้งนั้น พระองค์ได้คืนตำแหน่งมเหสีให้กับพระมเหสีอินฮยอน ส่วนพระมเหสีให้กลับไปเป็นสนมฮีบินเช่นเดิม

ค.ศ. 1701 พระมเหสีอินฮยอนป่วยและสิ้นพระชนม์โดยไม่ทราบสาเหตุ ขณะอายุ 34 ปี พระศพถูกฝังไว้ที่ Myeongreung ในจังหวัด Gyeonggi

มีเรื่องเล่ากันว่า หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีอินฮยอน ในช่วงของการไว้ทุกข์ พระเจ้าซุกจงฝันถึงพระมเหสีอินฮยอนว่า พระนางอยู่ในชุด sobok ทีเ่ปื้อนเลือด พระเจ้าซุกจงจึงตรัสถามถึงสาเหตุการตายของพระนาง แต่พระนางไม่ได้ทรงทูลตอบกลับไป แต่ทรงชึไปยังทิศของตำหนักสนมจาง เมื่อพระเจ้าซุกจงตื่นจากบรรทมจึงทรงเสด็จไปยังตำหนั กสนมจางทันที พระองค์ได้ยินเสียงเพลงและเสียงหัวเราะออกมาจากตำหนั ก เมื่อเข้าไปด้านในพบว่า สนมจางกำลังอยู่กับหมอผี มีแท่นพิธีสำหรับการสาปแช่ง ทั้งรูปภาพและธนู ทำให้สนมจางถูกลงโทษด้วยการดื่มยาพิษ

มีบันทึกเรื่องราวของพระมเหสีอินฮยอนซึ่งเขียนโดย นางในในตำหนักของพระนาง ชื่อว่า Inhyeon Wanghu Jeon ซึ่งถูกเก็บรักษามาถึงปัจจุบันนี้



พระมเหสีอินวอน ( ราชินีองค์ที่สามของพระเจ้าซุกจง)

พระมเหสีอินวอน ตระกูลคิม แห่งคยองจู (Queen Inwon of the Gyeongju Kim clan) พระมเหสีลำดับที่ 3 ในพระเจ้าซุกจง หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีอินฮยอน พระเจ้าซุกจงได้ออกกฎห้ามแต่งตั้งพระสนมขึ้นดำรงตำแห น่งพระมเหสี ดังนั้นจึงต้องมีการคัดเลือกบุตรีจากตระกูลขึ้นนางขึ ้นมาดำรงตำแหน่งมเหสี

ค.ศ. 1702 ในปีที่ 30 แห่งรัชสมัยพระเจ้าซุกจง บุตรีคนที่ 2 ของ Kim Joo-shin และ ภรรยาจากสกุล Jo แหล่ง Imcheon ได้รับการคัดเลือกเป็นพระมเหสีองค์ใหม่ พระนามว่า พระมเหสีอินวอน ด้วยอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น พระนางมีพี่ชาย 2 คน ได้แก่ Kim Huyeon และ Kim Guyeon พี่สาว 1 คนและน้องสาว 1 คน

ค.ศ. 1711 พระนางป่วยเป็นโรคฝีดาษ และหายป่วยในที่สุด

ค.ศ. 1720 พระเจ้าซุกจงสิ้นพระชนม์ องค์ชายลียุน ซึ่งเป็นองค์ชายรัชทายาท ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา พระนามว่า พระเจ้าคยองจง พระนางจึงได้ดำรงตำแหน่ง Queen Dowager (ในภาษาเกาหลีอ่านว่า daebi)

ค.ศ. 1724 พระเจ้าคยองจงสิ้นพระชนม์ องค์ชายยอนอิง พระโอรสบุญธรรมของพระมเหสีอินวอนขึ้นครองราชย์ พระนามว่า พระเจ้ายองโจ พระนางได้ดำรงตำแหน่ง Grand Royal Queen Dowager (ในภาษาเกาหลีอ่านว่า daewangdaebi) (ขออธิบายเกี่ยวกับ Deabi และ Daewangdaebi ด้านล่างนะคะ ว่าต่างกันยังไง)

ถึงแม้ว่าพระนางจะมาจากครอบครัวจากฝ่ายใต้ แต่พระนางก็ให้สนับสนุนองค์ชายยอนอิงมาตลอด แม้กระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างสนมยองบิน ตระกูลคิม และสนมซุกบิน ตระกูลชเว ก็ไม่มีเรื่องขัดแย้งกันแต่อย่างใด พระมเหสีอินวอนมีบทบาทอย่างมากในราชสำนักสมัยพระเจ้า ยองโจ และพระเจ้ายองโจก็เคารพพระนางเหมือนมารดาแท้ๆ ของพระองค์ ในระหว่างพระชนม์ชีพพระนางได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ ม

พระนางสิ้นพระชนม์ ขณะอายุ 70 ปี ในปี ค.ศ. 1757 เป็นปีที่ 33 แห่งรัชสมัยพระเจ้ายองโจ พระศพฝังไว้ที่ Myeongreung ในจังหวัด Gyeonggi ใกล้ๆ กับสุสานที่ฝังพระศพของพระเจ้าซุก พระมเหสีอินฮยอน

เพิ่มเติม: Queen Dowager หรือ Daebi คือ ฐานันดรศักดิ์สำหรับพระมเหสีในอดีตพระราชา (บางครั้งอาจจะเป็นแม่หรือแม่เลี้ยงของพระราชาองค์ปั จจุบัน เป็นต้น)
Grand Royal Queen Dowager หรือ Daewangdaebi คือฐานันดรศักดิ์สำหรับพระมเหสีในอดีตพระราชา นับขึ้นไป 3 ขั้น

ภาพ: พระมเหสีอินวอน ตระกูลคิม จากเรื่อง ทงอี จอมนางคู่บัลลังก์ (Dong yi)




พระสนมจางฮีบิน (รักแรกพบของพระเจ้าซุกจง)

สตรีคนแรกถือว่าเป็นรักแรกพบของพระเจ้าซุกจงเลยก็ว่า ได้ ซึ่งจะเป็นใครไปไม่ได้ นั่นก็คือ พระสนมจางฮีบิน (Lady Jang Hui-Bin/Hee-Bin) เป็นธิดาของ Jang Hyeong และภรรยาจากสกุล Yun แห่ง Papyeong มีชื่อเดิมว่า จางอ๊กจอง มีการกล่าวถึงพระนางว่า เป็นสตรีที่สวยที่สุดในโชซอน ณ ขณะนั้น สนมจางเข้าวังมาในฐานะของนางในตำหนักพระนางจางรยอล จากการแนะนำขององค์ชาย Dongpyeong และพระเจ้าซุกจงทรงพบพระนางครั้งแรกเมื่อเสด็จเยี่ยม พระนางจารยอล จึงแต่งให้เป็น จางซังกุง แต่เนื่องจากครอบครัวของจางซังกุงมาจากฝ่ายใต้ ทำให้พระพันปีมยองซองไม่โปรดจางซังกุง ทรงกลัวว่า จางซังกุงจะมีอิทธิพลต่อพระเจ้าซุกจงในด้านการเมือง จึงเป็นสาเหตุให้จางซังกุงถูกขับออกจากวัง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1683 พระพันปีมยองซองสิ้นพระชนม์ พระมเหสีอินฮยอนจึงอนุญาตให้จางซังกุงกลับเข้ามาอยู่ ในวังตามเดิม

ค.ศ. 1686 จางซังกุงได้รับการแต่งตั้งเป็นสนมจางซุกวอน

ค.ศ. 1688 สนมจางซุกวอน ได้เลื่อนขั้นเป็น สนมโซอึย และสนมบิน นามว่าสนมจางฮีบิน หลังจากการเกิดของพระโอรสองค์แรก และในเดือนพฤษภาคมของปีเดียวกัน
เหตุการณ์ที่สำคัญในปีเดียวกันนี้คือ พระมเหสีอินฮยอนถูกปลด พระเจ้าซุกจงทรงแต่งตั้งพระนางเป็นพระมเหสี และพระโอรสได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท

ค.ศ. 1964 พระเจ้าซุกจงคืนตำแหน่งมเหสีให้พระมเหสีอินฮยอน ส่วนพระนางถูกลดตำแหน่งเป็นสนมฮีบินดังเดิม

ค.ศ. 1701 พระมเหสีอินฮยอนสิ้นพระชนม์โดยไม่ทราบสาเหตุ พระเจ้าซุกจงทรงพบว่าสนมจาง หมอผี และพี่ชาย Jang hui-jae กำลังทำพิธีสาปแช่ง มีทั้งตุ๊กตาฟาง ธนู และคันธนู จากเหตุการณ์นี้ทำให้สนมจาง Jang Hui-jae และทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ถูกลงโท ษด้วยการดื่มยาพิษ ในเดือนตุลาคม ขณะนั้นสนมจางฮีบินมีอายุ 42 ปี พระศพของพระนางถูกฝังอยู่ที่ Seooreung ว่ากันว่าหากผู้หญิงโสดคนไหนได้ไปเยือนสุสานของพระนา งจะสมหวังในความรัก

หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ในวันที่ 7 เดือน 10 ปีที่ 27 ในรัชกาลพระเจ้าซุกจง ทรงประกาศกฎห้ามมิให้แต่งตั้งสนมขึ้นเป็นพระมเหสี

เมื่อพระโอรสครองราชย์ นามว่า พระเจ้าคยองจง ทรงสถาปนาพระมารดาเป็น Lady Oksan, Great Concubine of the Palace Prefectural Great Concubine of the Indong Jang clan

เพิ่มเติม: มารดาของสนมจางฮีบิน เป็นสตรีจากสกุล Yun แห่ง Papyeong ซึ่งมีพื้นเพเดิมอยู่ที่ Papyeong-myeon เมือง Paju ตระกูล Yun นี้มีสตรีที่ได้รับตำแหน่งเป็นราชินีของโชซอนถึง 2 พระองค์ ได้แก่ ราชินีจองฮี ในพระเจ้าเซโจ และราชินีมุนจอง ในพระเจ้าจุงจง ต้นสกุล Yun แห่ง Papyeong มาจาก Yun Sin-dal ซึ่งเป็นผู้ช่วยพระเจ้าแทโจ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โครยอ



พระสนมชเวซุกบิน (ความประทับใจแต่แรกเห็นของพระเจ้าซุกจง)

สตรีคนต่อมาเป็นความประทับใจแต่แรกเห็นของพระเจ้าซุก จง นั่นก็คือ พระสนมชเวซุกบิน (Lady Choi Suk-bin) เป็นบุตรีของ Choe Hyo-won และภรรยาสกุล Hong แห่ง Namyang เกิดวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.1670 สมัยพระเจ้าฮโยจง มีพี่ชาย 1 คน คือ Choe Dong-hu และน้องสาว 1 คน พระนางมาจากครอบครัวชนชั้นชอนมิน

ชอนมิน คือ ทาส พวกนี้ไม่ใช่คน ทางราชการจะเข้ามาควบคุมชนชั้นนี้เสมือนเป็นสิ่งของช ิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นสมบัติส่วนบุคคลสามารถซื้อขายกันได้ และทางราชการเองก็มีชอนมินไว้เป็นสมบัติเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้งานในราชสำนัก ชอนมินที่ไม่ได้มีเจ้าของก็จะประกอบอาชีพที่สังคมดูถ ูกเช่น คนฆ่าสัตว์ นักแสดงกายกรรม ผู้หญิงก็จะมีสามอาชีพ คือ มูดัง (ร่างทรง) คีแซง (นางโลม) และอึยนยอ (แพทย์หญิง) แต่ควากอขุนนางฝ่ายบู้ก็เปิดโอกาสให้ชอนมินผู้ชายเข้ าไปเป็นทหารเช่นกัน

สนมชเวเข้ามาอยู่ในวังตั้งแต่อายุ 7 ปี แต่เดิมเป็นนางในหาบน้ำในตำหนักพระมเหสีอินฮยอน ในคืนหนึ่งขณะที่กำลังสวดมนต์เพื่อพระมเหสีอินฮยอน พระเจ้าซุกจงซึ่งกำลังจะเสด็จออกนอกวังได้ยินเข้าพอด ีและทรงประทับใจในความมีน้ำใจที่มีต่อพระมเหสี แต่จากบันทึกของ Yi Mun Jeong (1656-1726) ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากที่พระเจ้าซุกจงได้เสด็จกลับจากนอกวัง พระองค์ได้ยินเสียงร้องไห้มาจากห้องเล็กๆ และได้เดินตามเสียงนั้นไป และพบนางในคนหนึ่งกำลังจัดสำรับอาหารสำหรับงานเลี้ยง ซึ่งจัดขึ้นเพื่ออดีตพระมเหสีอินฮยอนที่ถูกปลด เมื่อพระเจ้าซุกจงตรัสถาม นางในคนนั้นตอบกลับมาว่า “ฝ่าบาท หม่อมฉันเป็นนางในที่เคยรับใช้พระมเหสีอินฮยอน วันนี้เป็นคล้ายวันประสูติของพระมเหสี หม่อมฉันไม่เคยลืมความเมตตาของพระมเหสี จึงได้จัดสำรับงานเลี้ยงเพื่อระลึกถึงพระมเหสี โปรดลงโทษหม่อมฉันเถิดเพคะ” ทำให้พระเจ้าซุกจงประหลาดใจมาก เนื่องจากทุกคนในวังต่างเกรงกลัวพระมเหสีจาง ไม่มีใครกล้าที่จะเอ่ยถึงหรือแม้กระทั่งจัดงานเพื่อร ะลึกถึงพระมเหสีที่ถูกปลด แต่นางในคนนี้กล้าเสี่ยงเพื่อจัดงานวัดเกิดให้กับพระ มเหสีอินฮยอน ทำให้พระเจ้าซุกจงประทับใจเป็นอย่างมาก

ค.ศ. 1693 พระนางได้รับการแต่งตั้งเป็นสนมซุกวอน หลังจากที่ให้กำเนิดองค์ชายองค์แรก แต่องค์ชายสิ้นพระชนม์

ค.ศ. 1694 สนมซุกวอนได้ให้กำเนิดองค์ชายยอนอิง และได้เลื่อนเป็นสนมซุกอึย

ค.ศ. 1695 เลื่อนขั้นเป็นสนมควีอิน

ค.ศ. 1698 สนมควีอินให้กำเนิดองค์ชายองค์ที่ 3 และองค์ชายสิ้นพระชนม์

ค.ศ.1699 เลื่อนขั้นเป็นสนมบิน นามว่า สนมชเวซุกบิน

ค.ศ. 1701 พระมเหสีอินฮยอนสิ้นพระชนม์ ทำให้มีการคัดเลือกมเหสีองค์ใหม่ และในขณะนั้นมีเพียงสนมชเวซุกบินเท่านั้นที่เป็นสนมเ อก จึงมีความเป็นไปได้ว่า สนมซุกบินอาจจะได้เป็นมเหสี แต่ด้วยชนชั้นของพระนางทำให้ไม่อาจขึ้นเป็นมเหสีได้ และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ พระนางมีโอรส 1 องค์ คือ องค์ชายยอนอิง ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาต่อการขึ้นครองบัลลังก์ของรัชทายา ท โอรสที่เกิดจากสนมจาง นอกจากนี้พระเจ้าซุกจงยังมี สนมคิมควีอิน (ต่อมาคือ สนมคิมยองบิน) และสนมปาร์คซุกอึย (ต่อมาคือ สนมปาร์คมยองบิน) ที่เป็นสตรีที่มาจากตระกูลขุนนาง แต่ปัญหาดังกล่าวก็หมดไปเมื่อพระเจ้าซุกจง ทรงประกาศกฎห้ามมิให้แต่งตั้งสนมขึ้นเป็นพระมเหสี

ค.ศ. 1718 สนมซุกบินสิ้นพระชนม์ที่บ้านพักส่วนตัว ขณะอายุ 49 ปี พระศพถูกฝังอยู่ที่สุสาน Soryeongwon ในจังหวัด Paju องค์ชายยอนอิง ภายหลังได้ครองราชย์เป็นพระเจ้ายองโจ ทรงเป็นโอรสที่มีความกตัญญูต่อพระมารดา โดยทรงทำแผ่นป้ายจารึกเพื่อระลึกถึงพระมารดา ซึ่งป้ายจารึกนี้ทรงเขียนด้วยพระองค์เอง และสถาปนาพระมารดาเป็น Lady Hwagyeong, Royal Noble Consort Suk of the Choe clan


1
http://www.filecondo.com/dl.php?f=5b30251Ft6c9
2
http://www.filecondo.com/dl.php?f=J4aceb1Ft6d3
3
http://www.filecondo.com/dl.php?f=3740e41Ft6e1
4
http://www.filecondo.com/dl.php?f=O8a5461Ft6eZ
5
http://www.filecondo.com/dl.php?f=nad1221Ft6fW
6
http://www.filecondo.com/dl.php?f=9709f11Ft6gZ
7
http://www.filecondo.com/dl.php?f=k148911Ft6hS
8
http://www.filecondo.com/dl.php?f=v39dd81Ft6iQ
9
http://www.filecondo.com/dl.php?f=H771161Ft6jN
10
http://www.filecondo.com/dl.php?f=A583f81Ft6kN
11
http://www.filecondo.com/dl.php?f=V1e1931Ft6lR
12
http://www.filecondo.com/dl.php?f=Jbb3f31Ft6mJ
13
http://www.filecondo.com/dl.php?f=Lb00a71Ft6nH
14
http://www.filecondo.com/dl.php?f=Bad6ac1Ft6oN
15
http://www.filecondo.com/dl.php?f=Db9da71Ft6pI
16
http://www.filecondo.com/dl.php?f=D75df31Ft6qB
17
http://www.filecondo.com/dl.php?f=30d7711Ft6rz
18
http://www.filecondo.com/dl.php?f=b61ed61Ft6sA
19
http://www.filecondo.com/dl.php?f=6cf7e11Ft6tv
20
http://www.filecondo.com/dl.php?f=T2ac891Ft6ut
21
http://www.filecondo.com/dl.php?f=1d33b11Ft6vu
22
http://www.filecondo.com/dl.php?f=o6efec1Ft6wp
23
http://www.filecondo.com/dl.php?f=e632a11Ft6xn
24
http://www.filecondo.com/dl.php?f=N7f35d1Ft6yo