ภาพยนตร์ sci-fi แห่งปี เรื่อง Ex Machina ได้รับรางวัลหลายสาขาจากเวที British Independent Film Awards (BIFA) 2015 รวมถึงรางวัล Best Film, Best Screenplay, และ Best Director (Alex Garland ผู้เขียนบท 28 Days Later…)

โดยชื่อหนัง Ex Machina มาจากคำกรีกคำหนึ่ง “Deus Ex Machina” ซึ่งแปลว่า “God from the machine” ในภาษาอังกฤษ



เรื่องย่อ EX MACHINA
โปรแกรมเมอร์หนุ่ม Caleb (Domhnall Gleeson จาก Time, Harry Potter, Star Wars VII) ได้รับเลือกไปเข้าร่วมโครงการลับทดสอบ AI กับ Nathan (Oscar Isaac จาก Inside Llewyn Davis) CEO ยอดอัจฉริยะของบริษัท Bluebook (เป็นบริษัท Internet search engine ยักษ์ใหญ่ อารมณ์เดียวกับ Google) ที่แล็บส่วนตัวท่ามกลางขุนเขาอันไกลโพ้นของ Nathan

โดย Nathan ได้มอบหมายให้ Caleb ไปสนทนากับหุ่นยนต์ AI สาว… Ava (Alicia Vikander จาก The Man from U.N.C.L.E., The Danish Girl) ทุกวัน…เป็นเวลา 7 วัน เพื่อเป็นการทดสอบ Turing Test ว่า เธอมีความรู้สึกนึกคิดใกล้เคียงกับมนุษย์จริงแล้วหรื อยัง







รีวิว วิเคราะห์ วิจารณ์ EX MACHINA
จริงๆ เราเป็นคนไม่ค่อยรู้เรื่องเทคโนโลยีหรือวิทยาการคอมพ ิวเตอร์ แต่เราชอบเวลาดูหนังเกี่ยวกับ Robot หรือ AI แล้วค้นพบการเสียดสีมนุษยชาติหรือ “ความเป็นคน” อยู่ในนั้น

ต้องบอกก่อนว่า Ex Machina อาจไม่ใช่หนัง Sci-fi อวกาศตู้มต้ามแบบที่คนหมู่มากชื่นชอบหรือเคยชิน แต่ก็เป็นหนัง Sci-fi ที่ไม่ธรรมดา บทและไดอะล็อกล้ำลึก สะท้อนสังคมและความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะ… ประเด็นเรื่องเพศ…







ในยุคปีทองของหนังเฟมินิสต์ ไม่แปลกเลยที่ Ava หุ่นยนต์ต้นแบบ หรือ AI prototype จะเป็นผู้หญิง หนังเต็มไปด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับเพศ (ย้ำว่า Gender issues นะ ไม่ใช่แนว Erotic) สะท้อนสังคมปิตุลาธิปไตย หรือสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่เหนือกว่าผู้หญิง

ในหนัง ตัวละครจะให้ความรู้สึกกับเราว่า ผู้ชายมีอำนาจเหนือกว่าผู้หญิง และมีศักดิ์เสมือนพระเจ้า ในขณะที่ผู้หญิงเป็นเพียงหุ่นยนต์ที่ถูกโปรแกรมมา ไม่มีชีวิตจิตใจ ต้องพูดคิดหรือทำอะไรตามที่ถูกผู้ชาย ครอบครัว หรือสังคมเขากำหนดไว้



ทั้งนี้ไม่ใช่แค่ Ava (นางเอกที่เป็น AI) หากแต่ยังรวมถึง Kyoko (Sonoya Mizuno) ที่เป็นทั้งแม่บ้านแม่เรือนและที่ระบายปลดปล่อยอารมณ ์ทางเพศของ Nathan ซึ่งตรงนี้… หนังเขาดูตั้งใจเลือกใช้ “สาวญี่ปุ่น” อย่างมีนัยสำคัญ…. เหมือนตั้งใจจะสะท้อนค่านิยมของสังคมญี่ปุ่นยังไงยัง งั้น





แต่ประเด็นของหนังจริงๆ นั้น เขาก็ไม่ได้จะเน้น Gender Discimination ซะทีเดียว หลักๆ คือต้องการจะเปรียบเทียบความเป็นมนุษย์กับความเป็นหุ ่นยนต์ และแอบสื่อให้เห็นว่า จริงๆ แล้ว ใครจะเป็นคน ใครจะเป็นคอม มันไม่ขึ้นอยู่กับทางด้านกายภาพ หรือการปรุงแต่งด้วยเสื้อผ้าหน้าผมเท่านั้นหรอก หากแต่มันดูที่จิตใจ ความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ชีวิต และจิตใต้สำนึกเสียมากกว่า

อืม… ดูหนังเรื่องนี้ไปสักพักนึง… เราอาจจะรู้สึกเหมือนพระเอกก็ได้ว่า… ตกลงกูเป็นมนุษย์หรือเป็นหุ่นยนต์… นั่นแหละ

“THE HUMAN IS WHEN SHE WALKS OUTSIDE AND THE COMPUTER IS MARY IN THE BLACK AND WHITE ROOM.”

ดังนั้น ถ้าเอาคำว่า “คนโปรแกรม/คนควบคุม” กับ “คนถูกโปรแกรม/คนถูกควบคุม” มาเป็นตัวกำหนดแยกแยะว่าอันไหนเป็น human อันไหนเป็น robot เราจึงคิดว่า… ถ้าเช่นนั้น แทบทุกคนบนโลกตอนนี้ก็ล้วนเป็น Robot และมีน้อยตัวมากที่จะมีสติปัญญาหรือความรู้สึกนึกคิด เป็นของตัวเองจริงๆ เพราะแต่ละคนก็ดูใช้ชีวิต routine แต่ละวันซ้ำๆ กันวนเวียนไม่รู้ตัว

ตอนนี้มนุษยชาติอาจจะยิ้มกระหย่องด้วยความภาคภูมินัก หนาว่า เราเป็นคนสร้างเทคโนโลยี เราเป็นคนควบคุมมัน เราเป็นพระเจ้าของมัน โดยลืมย้อนมองตัวเองไปว่า สิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราพูด หรือสิ่งที่เราคิดอยู่กันทุกวันนี้ เราก็ล้วนถูกโปรแกรมมาไม่ต่างจากหุ่นยนต์ อยู่ที่เราจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว







และถ้าอนาคต สมองของ AI จะสร้างมาจาก database ของ search engine หรือ network ต่างๆ อย่างในหนังขึ้นมาจริงๆ แล้ววันหนึ่ง… พวกเขาอาจจะสืบพันธ์ุได้เช่นเดียวกับมนุษย์ … ก็คงไม่แปลก ที่วันหนึ่ง AI จะมีวิวัฒนาการล้ำหน้าไปก่อนสังคมมนุษย์

และเมื่อถึงวันนั้น AI ทั้งหลายก็จะมองย้อนหันหลังกลับมาแสยะยิ้มใส่นังพวกม นุษย์หน้าโง่อย่างพวกเราด้วยสายตาอย่างที่ทุกวันนี้พ วกเรามอง “ซากฟอสซิล” ในพิพิธภัณฑ์… ก็เป็นได้


Ex Machina คะแนนตามความชอบส่วนตัว 8/10

หนังไม่เข้าฉายโรงที่ไทย (คาดว่าเพราะมีภาพผู้หญิงเปลือยค่อนข้างโจ๋งครึ่ม) ถ้าใครสนใจทดสอบความเป็นมนุษย์ ให้ไปหาซื้อแผ่น DVD ซึ่งมีวางขายแล้วในร้านชั้นนำทั่วประเทศค่ะ

http://cornfile.com/r2ge94fhykot