+ ตอบกลับกระทู้
สรุปผลการค้นหา 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2
  1. #1
    Administrators รูปส่วนตัว Duckload.us
    สมัครเมื่อ
    Dec 2010
    โพสต์
    150,506
    Thanks
    7
    Thanked 157,708 Times in 68,844 Posts

    Lightbulb สารคดีท่องโลกกว้าง ผจญภัยขุมทรัพย์แห่งธรรมชาติ ตอน เกาะสุดปลายขอบโลก (528)-HDTV.H.264.720p.



    ไปรู้จักดินแดนบริติชในมหาสมุทรอินเดีย นี่คือฐานทัพลับสุดยอดของอังกฤษและอเมริกา แต่ยังเป็นแหล่งอนุรักษ์ทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้ วย เกาะส่วนใหญ่ของชากอสไม่เคยมีใครไปเยือนเลย และไม่เคยมีทีมถ่ายทำใดได้รับอนุญาตให้เข้าถึงมาก่อน สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพใต้ทะเลของแนวปะการังชากอ ส และพบว่ามีความหลากหลายพอๆ กับเกรทแบริเออร์รีฟ อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะมีเพียงส่วนน้อยของหมู่เกาะนี้เท่านั้นที่ได้รั บการสำรวจครบถ้วน
    ชากอสเป็นระบบใต้ทะเลใหญ่แห่งเดียวในโลกที่มีความบริ สุทธิ์อย่างแท้จริง เพราะความที่เป็นฐานทัพ จึงไม่มีการท่องเที่ยว ไม่มีการประมง และไม่มีมลภาวะแม้แต่น้อย ไม่มีที่ใดในโลกเปรียบได้ หมู่เกาะนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ล้อมรอบด้วยอินเดีย เอเชีย และแอฟริกา รวมถึงประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลกหลายประเ ทศ ซึ่งมักจะเสี่ยงต่อนโยบายการประมงล้นเกิน และความสมบูรณ์ของชีวิตใต้ทะเล ชีวิตบนบกก็บริสุทธิ์เช่นกัน ชากอสเป็นที่สุดท้ายที่มีประชากรปูมะพร้าวโตเต็มที่ท ี่ไม่ถูกรบกวน สัตว์บกไม่มีกระดูกสันหลังที่หนักที่สุดในโลกนี้ปีนต ้นไม้ไปเก็บมะพร้าว และฉีกกะลาได้ด้วยก้ามทรงพลังของมัน มันถูกล่าเป็นอาหารหาง่ายทุกที่ที่มันอยู่ตลอดเขตร้อ น แต่อย่างน้อยที่ชากอส มันก็ปลอดภัยและน่าดูมาก
    นอกชายฝั่งพิทแคร์น ชาวเกาะลงเรือเล็กมาหาเรือเอ็มวีเคลย์มอร์ทู และต้อนรับพิธีกรขึ้นฝั่งไปยังเมืองอดัมส์ทาวน์โดยลู กหลานของพวกกบฏบนเรือเองเลย เราได้รู้ว่าประเทศที่เล็กที่สุดในโลก มีผู้อาศัยเพียง 47 คน อยู่รอดมาได้อย่างไร อุตสาหกรรมที่นี่เล็กแต่หลากหลาย จากการจับกุ้งล็อบสเตอร์ไปถึงแลกเปลี่ยนสินค้ากับเรื อที่ผ่านมา ไปถึงน้ำผึ้งที่บริสุทธิ์ที่สุดในโลกและการแกะสลักไม ้
    แล้วออกเรือไปยังหมู่เกาะโอเอโน เฮนเดอร์สัน ดูซี่ ซึ่งเป็นเกาะรอบนอกที่ไม่มีผู้คนอาศัยห่างพิทแคร์นไป ไม่กี่ร้อยกิโลเมตร เรือยาวข้ามมหาสมุทรไปด้วยแรงลมเหมือนชาวโพลิเนเซียเ มื่อหลายศตวรรษก่อน การเดินทางใช้เวลา 3 วัน และภายใต้หมู่ดาว เราครุ่นคิดถึงการเดินทางยุคต้นๆ ของชาวโพลีเนเซีย และผลกระทบจากมนุษย์ตลอดเวลาที่ผ่านมา
    ไปสำรวจสัตว์ป่าบนเกาะเฮนเดอร์สันที่เป็นเอกลักษณ์ และได้เห็นว่าครั้งหนึ่งพิทแคร์นเคยเป็นอย่างไร แต่ชาวโพลินีเชียก็นำหนูโพลินีเชียเข้ามา และเกิดสถานการณ์คล้ายคลึงกับที่แอสเซนชั่นและเซนต์เ ฮเลน่า หนูพวกนี้สร้างความพินาศให้นกท้องถิ่น
    ความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องสมัยใหม่ หรือเกิดขึ้นเพราะชาวยุโรปเป็นครั้งแรก แต่เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ติดต่อกับโลกธรรม ชาติทุกครั้ง เราติดตามความพยายามเมื่อเร็วๆ นี้ของราชสมาคมอนุรักษ์นก ที่กวาดล้างหนูบนเกาะเฮนเดอร์สันไปจนหมด และดำเนินการต่อที่โอเอโน่และดูซี่ ซึ่งหนูไม่เคยไปถึง แต่ยิ่งมีเรือผ่านไปทางหมู่เกาะพิทแคร์นทุกปี และเรือบางลำก็แวะหยุดอย่างผิดกฎหมายและไม่มีมาตรการ ที่เหมาะสม การนำหนูหรือสัตว์อื่นๆ เข้าไปหรือกลับเข้าไปอย่างไม่ได้ตั้งใจก็ดูจะเป็นเรื ่องที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น เราจะดูแลไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้อย่างไร และไม่ให้การสูญพันธุ์ของนกที่แอสเซนชั่นและเซนต์เฮเ ลน่าไม่เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร




    http://www.filecondo.com/dl.php?f=h0cf761Dd3Sq

  2. The Following 2 Users Say Thank You to Duckload.us For This Useful Post:

    F2UMaH6398 (01-24-2019), Visit (05-23-2017)

  3. #2
    Senior Member
    สมัครเมื่อ
    Sep 2013
    โพสต์
    1,076
    Thanks
    0
    Thanked 1 Time in 1 Post
    ขอบคุณครับ

+ ตอบกลับกระทู้

ข้อมูลกระทู้

Users Browsing this Thread

ในขณะนี้มี 1 ท่านดูกระทู้อยู่. (0 สมาชิกและ 1 ผู้เยี่ยมชม)

     

กฎการโพสต์ข้อความ

  • ท่าน ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
  • ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขข้อความโพสต์ได้
  • BB code สถานะ เปิด
  • Smilies สถานะ เปิด
  • [IMG] สถานะ เปิด
  • HTML สถานะ ปิด