หนังเพลงที่สร้างจากบทประพันธ์คลาสสิคของ ชาร์ลส์ ดีกเก้นส์ ซึ่งแม้หนังสือจะมีดทนหม่นหมองอยู่บ้าง แต่เมื่อเป็นหนังเพลงกลับเปลี่ยนเป็นความสดใส กระนั้นก็ยังแฝงไว้ด้วยการเสียดสี โดยได้การแสดงและความน่ารักของสองนักแสดงเด็ก มาร์ค เลสเตอร์ ในบท โอลิเวอร์ ทวิสต์ และ แจ๊ต ไวลด์ ในบท อาร์ทฟูล ด็อดเจอร์ มาช่วยเสริมให้หนังสดใสยิ่งขึ้น
แม้หนังจะสร้างออกมาในปลายยุค 1960 ซึ่งถือว่าเป็นช่วงท้ายของยุคหนังเพลง แต่หนังก็ให้ความบันเทิงในรูปแบบของหนังเพลงอย่างเต็ มที่ ด้วยฉากเพลงและเต้นรำแบบใหญ่ ๆ อยู่หลายฉาก แต่ในขณะเดียวกันก็มีบางฉากร้องและเต้นที่ทำออกมาเรี ยบง่ายด้วยการออกแบบท่าเต้นที่เน้นความขบขันอยู่บ้าง หนังเรื่องนี้ถือเป็นการปิดฉากชั่วคราวกับรางวัลหนัง ยอดเยี่ยมออสการ์ ที่ใช้เวลาถึง 34 ปี ก่อนที่หนังเพลงจะได้รับรางวัลหนังยอดเยี่ยมอีกครั้ง
Oliver! เป็นเรื่องราวของเด็กชายผู้โชคร้าย จับพลัดจับพลูเติบโตขึ้นในสังคมอังกฤษ ยุคสมัยที่ยังไม่มีใครสนใจคุณค่าของมนุษย์ และความเสมอภาคเท่าเทียม ชนชั้นล่างของสังคม กรรมกรแรงงาน ต่างต่อสู้ดิ้นรนอย่างลำบากยากเข็น งานแสนหนักแต่ค่าแรงแสนถูก ขณะที่นายทุนพยายามทำทุกอย่างเพื่อลดต้นทุนแล้วได้รั บผลผลิตมากๆ (กดค่าแรงต่ำๆ ขยายเวลาการทำงาน) นี่คือสิ่งเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของโลกยุคอุตสาหกรร ม ที่จะค่อยๆต่อยอดกลายเป็นระบอบทุนนิยมในไม่ช้า
สำหรับต้นกำเนิดของ Oliver หนังไม่ได้ให้ความสำคัญเสียสักเท่าไหร่ (เพราะมีหลายตัวละครหายไป ทำให้มิอาจเชื่อมโยงความสัมพันธ์เปรียบเทียบให้เห็นภ าพได้ กระนั้นเราอาจสมมติว่า พ่อบุญธรรมที่รับเลี้ยง Oliver ช่วงท้าย คือปู่ของเขาจริงๆ) แต่ในหนังสือของ Dickens ถือว่ามีสาระสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นการสะท้อน เปรียบเทียบกับปัญหาของโลกยุคอุตสาหกรรม ที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างคนสองชนชั้น พ่อ-ลูกสาว, ชนชั้นสูง-ชนชั้นต่ำ, คนรวย-คนจน, นายทุน-ลูกจ้าง ฯ
ซึ่งใจความของหนังเรื่องนี้มุ่งเน้นพูดถึง ความดี-ความชั่ว และการเลือกข้างเสียมากกว่า, Oliver เด็กชายที่พบเจอทั้งสิ่งดีงามและชั่วร้าย สุดท้ายก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าเลือกอาศัยอยู่กับใคร (เพราะเขาเลือกได้) ตรงกันข้าม Fagin กับ Artful Dodger ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่มีสิทธิ์เลือก แต่เพราะมิอาจหักห้ามใจหรือแปรเปลี่ยนกลับมาเป็นคนดี ได้ จึงต้องวนเวียนอยู่ในวงจรอุบาศว์นี้ต่อไป
หลังจาก Dickens ตีพิมพ์หนังสือเรื่องนี้ ชาวอังกฤษต่างตระหนักเห็นความโหดร้ายทารุณของความเป็ นอยู่ในสมัยนั้น จึงพยายามปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งอย่างในทา งที่ดีขึ้น คนจนมีงานทำ, สถานที่/สภาพการทำงานมีคุณภาพดีขึ้น, เด็กๆได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย ทำงานได้แต่อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม, พวกเขามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบายขึ้น แต่ ก็ใช่ว่าโลกจะสามารถพลิกเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือได ้โดยทันที
วรรณกรรมเรื่องนี้มีสิ่งหนึ่งที่ได้รับการวิพากย์วิจ ารณ์รุนแรงมากๆตั้งแต่ตอนตีพิมพ์ปีแรกๆ คือตัวละคร Fagin มีลักษณะของชาว Jews ซึ่งการสร้างให้เป็นศูนย์กลางของความชั่วร้าย มองได้ว่าเป็นการ Anti-Semitic (ต่อต้านชาวยิว), เห็นว่าภาพยนตร์ฉบับของ David Lean ที่ Alec Guinness รับบทนี้ เรียกว่าชั่วร้ายจัดเต็ม มองเป็นการเหยียดยังได้ แต่กับหนังเรื่องนี้ เพราะ Ron Moody เป็นชาวยิวเองด้วย เขาจึงพยายามลดความชั่วร้ายนั้นลง เสริมใส่มิติ Comedy ให้กับตัวละคร จนผู้ชมเกิดความรู้สึกทั้งสงสารเห็นใจ และรับรู้มุมความชั่วร้าย นี่เป็นการพยายามบอกว่า ไม่ใช่ชาวยิวทุกคนจะคือศูนย์กลางของความชั่วร้ายของ โลก
ด้วยทุนสร้าง $10 ล้านเหรียญ ทำเงินในอเมริกา $37.4 ล้านเหรียญ (ทำเงินสูงสุดอันดับ 7 ของปี) รวมทั่วโลก $77.4 ล้านเหรียญ ประสบความสำเร็จล้นหลาม
เข้าชิง Oscar 11 สาขา กวาดมา 5 รางวัล ประกอบด้วย
Best Picture ** คว้ารางวัล
Best Director ** คว้ารางวัล
Best Actor (Ron Moody)
Best Supporting Actor (Jack Wild)
Best Writing, Adapted Screenplay
Best Cinematography
Best Film Editing
Best Art Direction Art Direction ** คว้ารางวัล
Best Sound ** คว้ารางวัล
Best Costume Design
Best Musical Adaptation Score ** คว้ารางวัล
นอกจากนี้หนังยังมอบ Honorary Award ให้กับ Onna White สำหรับการออกแบบท่าเต้นอันโดดเด่นให้กับหนัง
ถ้าถามว่าหนังเรื่องนี้ดีพอจะคว้า Oscar ปีนั้นหรือไม่ มองย้อนกลับไปต้องบอกว่าพูดยาก เพราะ 5 เรื่องที่เข้าชิงไม่มีเรื่องไหนหลงเหลือเป็นตำนานให้ พูดถึงในปัจจุบันมากนัก Funny Girl, The Lion in Winter, Rachel Rachel, Rome and Juliet ขณะที่หนังเหนือกาลเวลาอย่าง 2001: A Space Odyssey, The Graduate หรือ Rosemarys Baby ถูกมองข้ามรางวัลใหญ่โดยสิ้นเชิง
เกร็ด: Oliver! คือหนังเพลงเรื่องสุดท้ายที่คว้า Oscar: Best Picture จนกระทั่ง Chicago (2002)
ขณะที่ BAFTA Award ปีนั้น ถึงได้เข้าชิงถึง 8 สาขา แต่กลับไม่ได้สักรางวัล
Best Film
Best Direction
Best Actor (Ron Moody)
Most Promising Newcomer to Leading Film Roles (Jack Wild)
Best Film Editing
Best Art Direction
Best Costume Design
Best Sound Track
โดยเรื่องที่คว้าภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของ BAFTA Award คือ The Graduate (1967) ที่เพิ่งเข้าฉาย
ส่วนตัวชื่นชอบหนังเรื่องนี้อย่างมาก ตำหนิเดียวคือความยาว แต่ถ้าคุณอินจัดก็อาจมองข้ามไม่ได้สนใจด้วยซ้ำ, โปรดักชั่น ไดเรคชั่น การแสดง เพลงประกอบ ท่าเต้น ทุกสิ่งอย่างมีความสมบูรณ์ลงตัว ไม่มี Miss สักบทเพลง แต่รู้สึกว่าไม่ถึงขั้น Masterpiece เพราะเมื่อเทียบกับ The Third Man เรื่องนั้นมันระดับตำนานของวงการเลยละ Oliver! คือผลพวงที่เกิดจากการต่อยอด ในสไตล์ลายเซ็นต์ของผู้กำกับ Carol Reed ที่สวยงามลงตัวพอดิบดี
ต้องดูให้ได้ก่อนตาย แนะนำทั้งเด็กและผู้ใหญ่
เด็กๆจะมีความหวาดสะพรึง กลัวเกรง ละอายต่อบาป ไม่กล้ากระทำความชั่วที่อาจทำให้ตัวตกอยู่ในสถานการณ ์อันตราย
สำหรับผู้ใหญ่ พยายามหวนระลึกถึงตัวเอง เคยกระทำความชั่ว แสดงความเห็นแก่ตัว หรือปลูกฝังแนวคิดอะไรผิดๆให้กับลูกหลานของคุณบ้างรึ เปล่า ตระหนักได้ว่าเคยจงรีบแก้ไขเสียนะครับ
จัดเรต PG-13 เพราะเรื่องราวเต็มไปด้วยแนวคิดผิดๆ มุมมืดของโลก และความชั่วร้ายนานัปการ แต่ผู้ใหญ่สามารถนั่งดูกับเด็กเล็ก ให้คำแนะนำไปด้วยได้จะมีประโยชน์อย่างยิ่ง
TAGLINE | Oliver! ของผู้กำกับ Carol Reed พอใส่ Musical เข้าไปทำให้ดูง่าย สนุกสนาน เพลิดเพลิน เด็กๆดูได้เห็นสาระ ผู้ใหญ่ชื่นชมความงามของศิลปะ
Director : Carol Reed
Writers : Lionel Bart, Vernon Harris, Charles Dickens
Stars : Mark Lester, Ron Moody, Shani Wallis
Oliver.1968.2160p.UHD.BluRay.x265_THAI.mkv
http://www.filecondo.com/dl.php?f=4a01991R9CZI
44.71 GB