เจิ้งเหอ (Zheng He หรือ Cheng Ho) (ค.ศ.1371-1433) เป็นผู้บัญชาการกองเรือมหาสมบัติของจีนสมัย ราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644)
การเดินเรือสำรวจทางทะเลในระยะเวลา 28 ปีของเจิ้งเหอ ประกอบด้วยกองเรือกว่า 300 ลำ ลูกเรือเกือบ 28,000 ชีวิต ออกสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง เดินทางมากกว่า 50,000 กิโลเมตร ท่องต่างแดนมากกว่า 30 ประเทศจากทะเลจีนใต้ไปจนถึงชายฝั่งตะวันออกของอาฟริก า
เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1405 (พ.ศ.1948) ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งราชวงศ์อู่ทอ งปกครองกรุงศรีอยุธยา
สิ้นสุดในปีค.ศ.1433 (พ.ศ.1976) พร้อมกับการเสียชีวิตของเจิ้งเหอ
กองเรือมหาสมบัติของจีนเคยติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาด้ วย กาวิน แมนซี (Gavin Menzies) อดีตทหารเรือชาวอังกฤษ
เสนอทฤษฎีว่า ในการเดินเรือครั้งหนึ่งของเจิ้งเหอ เขาน่าจะไปไกลถึงทวีปอเมริกา
ซึ่งหากเป็นจริง เขาก็จะเป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัสเกือบร้อ ยปี



แรกเริมเดิมทีนั้นเจิ้งเหอไม่ได้เป็นขันที แต่เขาถูกจับตอนเป็นขันทีสมัยที่ กษัตริย์องค์แรกแห่งราชวงศ์หมิงได้ขับไล่พวกมองโกลออ กจากแผ่นดินและบุกยึดยู นนานทางใต้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรหมิงสมัยนั้น แต่ด้วยเพราะว่าบิดาของหม่าเหอ(ชื่อเดิมเจิ้งเหอ) นั้นเป็นทหารให้กับราชวงศ์มองโกล(ราชวงศ์หยวน) เมื่อรบแพ้ จึงต้องจำยอมส่งบุตรชายไปเป็นขันทีตามทำเนียมของผู้แ พ้ในสมัยนั้น และต่อมาก็ตรอมใจตาย เพราะรับไม่ได้กับเรื่องราวที่เกิดขึ้น
หลังจากที่เจิ้งเหอไปรับใช้อยู่ในวัง ได้มีส่วนช่วยให้องค์ชายจูตี้โอรสของฮ่องเต้จูหยวนจา ง(ผู้ก่อตั้งราชวงศ์หมิ ง) ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์และมีความชอบอย่างมาก ในที่สุดจึงได้รับการพระราชทานนามกสุลแซ่เจิ้งที่ทุก คนรู้จักกัน
เจิ้งเหอได้รับการไว้วางใจจากองค์ฮ่องเต้อย่างมาก และได้รับตำแหน่งในการควบคุมกองเรือใหญ่ของจีนทั้งหม ด และเพื่อเป็นการประกาศศักดาและค้าขายผ่านทางเรือกับต ่างประเทศของจีน เจิ้งเหอจึงได้รับบัญชาให้จัดตั้งกองเรือออกจากน่านน ้ำของจีน
เพื่อล่องมหาสมุทรไปสู่ดินแดนอื่น



การเดินทางของเจิ้งเหอใช้เวลาทั้งหมด 28 ปี สำรวจมหาสมุทรรวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง รวมระยะทางไม่ต่ำกว่า 50,000 กิโลเมตร
การเดินทางของเขาในครั้งนั้น ทำให้เขาได้มีโอกาสเทียบเรือเยือนประเทศต่างๆมาแล้วท ั้งหมด 37 ประเทศ กล่าวกันว่าขนาดลำเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอนั้นมีควา มยาวถึง 400 ฟุต ซึ่งใหญ่กว่าเรือ ของโคลัมบัสที่ยาวเพียง 85 ฟุต ถึง 5 เท่า
ต้นปีถัดมาเจิ้งเหอก็เริ่มออกเดินทางในครั้งที่ 2 เวลานั้นอายุ 36 ปี ครั้งที่ 3 อายุ 38 ปี ครั้งที่ 4 อายุ 42 ปี ครั้งที่ 5 อายุ 46 ปี ครั้งที่ 6 อายุ 50 ปี ครั้งที่ 7 อายุ 60 ปี โดยครั้งสุดท้ายมีจำนวนลูกเรือ 27,550 คน ไปไกลถึงทวีปแอฟริกา
การเดินเรือออกยังมหาสมุทรในครั้งแรกของเจิ้งเหอนั้น มีเรือขนาดใหญ่เป็นเรือติดตามจำนวน 60 และยังมีเรือขนาดเล็กอีก 255 ลำ รวมลูกเรือทั้งกองจำนวน 27,870 คน ซึ่งวิถีการเดินเรือในครั้งแรกนั้น จะแล่นเรือลัดเลาะตามชายฝั่งของจีน ลงไปเรื่อยๆผ่านเวียดนาม อาณาจักรจามปา เข้าเกาะชวา(ปัจจุบันเป็นเกาะหนึ่งในอินโดนีเซีย) จากนั้นต่อด้วยศรีลังกา และเมืองอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียง โดยขากลับนั้นเขาได้นำคณะทูตต่างๆเข้าเฝ้าองค์ฮ่องเต ้ด้วย
นอกจากจะนำทูตจากประเทศต่างๆเข้าเฝ้า เขายังได้นำสัตว์จากท้องถิ่นต่างๆที่ไม่มีในแผ่นดินจ ีนมาให้พระองค์ทอดพระ เนตรด้วย เช่น สิงโต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย ยีราฟ (ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับตัวกิเลนของจีน และชาวจีนก็เรียกยีราฟว่ากิเลน) ซึ่งสิ่งเหล่านนั้นสร้างความตื่นเต้นให้กับบรรดาคนจี นที่ได้พบเห็นอย่างมาก
มีหลักฐานหลายข้อบ่งชี้ว่าเจิ้งเหอนั้นเดินทางไปถึงท วีปอเมริกา โดยเฉพาะอเมริกามีหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นหลักฐานได ้ เช่นถ้วยกระเบื้องเคลือบ ผู้คนบางกลุ่มที่มีหน้าตาคล้ายคนจีน ไก่สายพันธ์จีนที่แพร่พันธ์ที่นั่น เมล็ดของพืชผักหลายอย่าง เป็นต้น
ภายหลังสิ้นสุดการเดินเรือครั้งที่ 7 ประเทศจีนก็เข้าสู่ภาวะว่างเว้นจากการเดินเรือ และเจิ้งเหอได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1432 ที่แดนภารตะ (ประเทศอินเดีย) แต่องค์ฮ่องเต้ได้พระราชหลุมฟังศพให้กับเขาที่เมืองน านกิง แต่ในหลุมก็มีเพียงเสื้อผ้าและเส้นผมของเขาเท่านั้น
ปัจจุบันยังมีการถกเถียงกันอย่างมากมายเกี่ยวกับวิทย าการการเดินเรือของ เจิ้งเหอ แต่ไม่ว่าอย่างไร อย่างน้อยเรื่องราวของเจิ้งเหอก็พิสูจน์ให้เห็นว่าชา ติในเอเชียอย่างจีน มีวิวัฒนาการทางด้านการเดินเรือนำหน้ายุโรปหลายร้อยป ีเลยทีเดียว



http://www.filecondo.com/dl.php?f=tKbe5fb3L1OT