“The Great Dictator คือความตั้งใจอันดีของ Charlie Chaplin แต่ก็ทำให้รู้ว่าหนังพูดไม่เหมาะกับเขาเท่าไหร่”

Charlie Chaplin The Great Dictator (1940)

หนังพูดเต็มเรื่องแรกของ Charlie Chaplin ที่พูดจนหูดับตับไหม้ เพื่อเสียดสีล้อเลียน Adolf Hitler, ตอนหนังฉายถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ได้เข้าชิง Oscar 5 สาขา (รวมสาขา Best Actor แต่ไม่ได้สักรางวัล), พอเกิดสงครามโลก นี่กลายเป็นหนังที่ไม่ตลกเอาเสียเลย ขนาด Chaplin ยังพูดว่า ‘ถ้าฉันรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในค่ายกักกันของ Nazi ละก็ จะไม่มีวันสร้างหนังเรื่องนี้’

The Great Dictator เป็นหนังที่ประสบความสำเร็จที่สุดของ Charlie Chaplin ทำเงินมากที่สุด และทำให้เขาได้เข้าชิง Oscar ด้วย, นอกจากนี้ยังถือเป็นหนังเรื่องสำคัญ (milestone) ต่อหนังประเภทตลก (Comedy genre), ในยุคหนังเงียบ หนังตลกมักจะมีรูปแบบที่เรียกว่า Slapstick คือการแสดงท่าทาง การกระทำที่มีลักษณะดูตลกขบขัน นั่นเพราะสมัยนั้นมีแต่ภาพไม่มีเสียง แต่เมื่อเข้าสู่ยุคของหนังพูด (talkie era) การแสดง Slapstick ได้รับความนิยมลดลง ประกอบกับช่วงเวลาเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในอเมริกาปี 1929 ทำให้ผู้คนตกอยู่ในสภาวะหดหู่ (Great Depression) จึงไม่มีใครอยากดูหนังตลกรูปแบบเดิมๆอีกต่อไป (แต่อาจจะยกเว้นไว้สำหรับหนังของ Charlie Chaplin ที่ยังคงทำเงินมหาศาล), การมาของ The Great Dictator จึงเป็นหนังตลกพูดได้ เรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จ ทำเงินสูงสุดในทศวรรษนั้นเลย นี่เท่ากับเป็นการเปิดประตูสู่หนังตลกยุคถัดไปทันที

ประเภทหนังของ The Great Dictator คือ ตลกเสียดสีล้อเลียน (Comedy Satire) นี่ไม่ใช่ตลกประเภทใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นนะครับ วรรณกรรม บทละคร การแสดงในอดีตต่างเคยมีเรื่องราวแนวเสียดสี ส่อเสียด ล้อเลียน มาตั้งแต่สมัยโรมันโน่น, ซึ่งหนังเรื่องแรกที่มีการสร้างขึ้นเพื่อล้อเลียนคือ The Little Train Robbery (1905) ที่ล้อกับ The Great Train Robbery (1903) สร้างโดยผู้กำกับคนเดียวกัน Edwin S. Porter, ผ่านมา 35 ปี หนังแนวนี้เพิ่งได้รับความนิยมอย่างจริงจังครั้งแรก กับ The Great Dictator, กระนั้นถึงหนังประสบความสำเร็จอย่างสูง ก็ไม่ได้ทำให้หนังประเภทตลกฟื้นคืนชีพมาทันทีนะครับ เพราะขณะนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นพอดี ต้องรอไปจนถึงยุค 60s หนังประเภท Satire/Black Comedy ถึงจะเริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอย่างแท้จริง

Charlie Chaplin ได้แรงบันดาลใจสร้างหนังเรื่องนี้มาจากการได้ดูหนัง Triumph of the Will (1935) หนัง propaganda ของ Nazi โดยผู้กำกับ Leni Riefenstahl, ขณะนั้นมีผู้ชม 2 คนคือ Chaplin และผู้กำกับหนังชาวฝรั่งเศส Ren? Clair หลังจากดูจบ Clair ถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความกลัวในพลังของสื่อภาพยนตร์ บอกว่า ‘นี่เป็นหนังที่ไม่ควรได้รับการฉายให้โลกได้เห็น’ ผิดกับ Chaplin ที่รู้สึกตลกขบขัน หัวเราะร่าออกมา รู้สึกว่า Hitler เป็นคนที่ ‘น่าสนใจ’

ช่วงปี 1938 Adolf Hitler ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักในฐานะ ‘ผู้ชั่วร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์’ แต่นโยบายการเมืองของเขาได้สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นมาก มายในยุโรป ซึ่งอเมริกาขณะนั้นไม่มีความสนใจที่จะเข้าไปแทรกแซงป ัญหาต่างๆในยุโรป ผู้คนในอเมริกาจึงยังไม่มีใครรู้จัก, Chaplin ที่พอรู้จัก Hitler จากหนังเรื่องนั้นแล้ว ได้ทำการศึกษาแนวคิด เรียนรู้อุดมการณ์ นโยบายการเมือง และพบแนวโน้มที่มีความรุนแรงจากการปกครองของ Hitler นั่นทำให้ Chaplin ต้องการนำเสนอเรื่องราวที่มีลักษณะต่อต้าน เสียดสีแนวคิดและนำเสนอมุมมองความคิดทางการเมืองของต นเองออกมา

Chaplin ทุ่มให้เวลากับการศึกษา สังเกตเทคนิควิธีการพูดของ Hitler อย่างมาก เริ่มเขียนบทหนังช่วงปลายปี 1938 เริ่มถ่ายทำเดือนกันยายน 1939 (ใช้เวลาเขียนบทอยู่เป็นปี), ในหนังเรื่องนี้ Chaplin แสดง 2 บทบาท หนึ่งคือ ช่างตัดผมชาว Jewish ตัวละครนี้มีลักษณะคล้ายๆกับ Little Tramp จากหนังเรื่องเก่าๆของเขา แต่เพราะ Tramp ในเรื่องนี้พูดได้ จึงไม่เชิงเป็นคนเร่ร่อนในแบบที่คุ้นเคยเท่าไหร่, อีกตัวละครหนึ่งคือ Adenoid Hynkel ผู้นำเผด็จการของ Tomainia ซึ่งเขาเลียนแบบท่าทาง สีหน้า การเคลื่อนไหว และไว้หนวดทรงแปรงสีฟันให้เหมือนกับ Adolf Hitler มากที่สุด

เกร็ด: ในบางครั้งขณะที่ Hynkel กำลังปราศัย คำพูดของเขาไม่มีคำแปล นั่นเพราะ Chaplin พูดมั่วๆซั่วๆ (gibberish talk) เป็นภาษาที่ไม่มีความหมาย (เหมือนตอนท้ายของ Modern Times)

Paulette Goddard รับบท Hannah หญิงสาวที่เป็นนางเอกของเรื่อง, ผมไม่รู้สึกตัวละครนี้น่าสนใจเท่าไหร่ แต่เรื่องราวของเธอกับ Charlie Chaplin น่าสนใจกว่าเยอะ, Goddard เป็นภรรยาคนที่ 3 ของ Chaplin นะครับ ว่ากันว่าแต่งงานกันตอนหลังทำ Modern Times ร่วมกันเสร็จ และเลิกกันหลังจากทำ The Great Dictator เสร็จ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน

Jack Oakie รับบท Benzino Napaloni ผู้นำเผด็จการของ Bacteria ตัวละครนี้ล้อกับ Benito Mussolini ผู้นำเผด็จการของ Italian ที่นิสัย(คิดว่า)น่าจะตรงข้ามกันเลย, ฉากที่ Hynkel สู้กับ Napaloni ด้วยอาหาร มันเหมือนงานเลี้ยงวันเกิดของเด็กอายุ 10 ขวบ แทนที่จะตัดเค้กแบ่งกันกิน กลับปาเค้กใส่หน้ากัน ใครมีเส้นสายมากกว่า เยอะกว่ายาวกว่า ยกมือสูงกว่าย่อมเป็นผู้ชนะ, Jack Oakie ได้เข้าชิง Oscar สาขา Best Supporting Actor ด้วยนะครับ (แพ้ให้กับ Walter Brennan จากหนังเรื่อง The Westerner)

Chaplin ได้นำเสนอเรื่องราวของความคอรัปชั่นออกมาในรูปแบบต่า งๆ อาทิ การหาผู้เสียสละผ่านเหรียญในขนมเค้ก ที่ทุกคนต่างปัดความรับผิดชอบ นี่ถือว่าเป็นการโกง และช่างตัดผมก็กินเหรียญเข้าไป, เหรียญรางวัลที่ติดอยู่เต็มเสื้อรัฐมนตรีของ Hynkel คนหนึ่ง ที่พอเขาขัดคออะไรสักอย่างกับท่านผู้นำ ก็ถูกปลดเหรียญ แม้แต่กระดุมติดเสื้อก็โดนดึงออกไปด้วย จนแทบเปลือยเปล่าไม่เหลืออะไร

ถ่ายภาพโดย Karl Struss และ Roland Totheroh, กับคนที่เคยดู Triumph of the Will มาแล้ว ในฉากกล่าวสุนทรพจน์ของ Hitler จะมีการถ่ายภาพมุมเงย ที่ทำให้เขาดูมีความทรงพลังและยิ่งใหญ่เหนือมนุษย์ กับ The Great Dictator ผมรู้สึก Chaplin จงใจที่จะถ่ายฉากกล่าวสุนทรพจน์ของ Hynkel ในระดับสายตา เพื่อแสดงถึงความเท่าเทียมกันของมนุษย์, ซึ่งเรื่องราวของการถ่ายภาพนี้ ได้ถูกแปรสภาพกลายเป็นเรื่องราวเชิงจิตวิทยา ขณะที่ Napaloni มาเข้าพบ Hynkel ในห้องทำงาน ที่มีการจงใจทำให้เก้าอี้ของ Napaloni ต่ำกว่าโต๊ะทำงาน และมีรูปปั้น Hynkel ที่ให้ความรู้สึกจ้องมองตลอดเวลา

ตัดต่อโดย Willard Nico และ Harold Rice, หนังใช้การเล่าเรื่องคู่ขนานกันระหว่างช่างตัดผมและ Hynkel ซึ่งทั้งสองเรื่องแม้จะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไร แต่มีความต่อเนื่องและสะท้อนภาพของสองสังคม (ผู้บริหารประเทศกับประชาชน) การตัดสินใจของ Hynkel มีผลกระทบต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นใน Ghetto อยู่เสมอ

เพลงประกอบ Charlie Chaplin ทำร่วมกับ Meredith Willson แม้ Willson จะเป็นคนแต่งเพลงประกอบให้ แต่เป็น Chaplin ที่ทำการตัดแปะ เลือกตำแหน่งที่ใช้ (Mixed เสียง) และออกไอเดีย ลักษณะของเพลงทั้งหมด, หนังมีการใช้เพลงคลาสสิกดังๆ อาทิ Brahms: Hungarian Dance No. 5 ประกอบฉากโกนหนวด, Richard Wagner: Lohengrin – Prelude ขณะที่ Hynkel กำลังเล่นกับลูกโป่งลูกโลก และได้ยินอีกครั้งตอนจบของหนังขณะช่างตัดผมเรียกชื่อ Hannah ผ่านวิทยุ, การเลือกใช้เพลงของ Wagner ทำให้เกิดประเด็นพูดถึงอย่างมาก เพราะไม่เคยมีมาก่อนที่หนัง hollywood จะใช้เพลงของเขาเป็นตัวแทนโลกอันเพ้อฝันของ Fascism (Wagner เป็นชาว Germany นะครับ ซึ่งแต่งขึ้นขณะเขาเป็น Fascism เพื่อใช้แทนโลกอุดมคติหรือ Utopia)

มันไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ผู้กำกับจากยุคหนังเงียบ จะสามารถสร้างหนังพูดได้ดี, กับหนังเรื่องนี้ ก็ยังมีอะไรหลายๆอย่าง ที่รู้สึกได้ว่า Chaplin ยังคิดแบบหนังเงียบ ติดกับรูปแบบเดิมๆ (อาทิ Slapstick, การจับพลัดจับผลู ทำผิดๆถูกๆ, ความบังเอิญ ฯ), ผมว่า Chaplin เริ่มทำหนังพูดช้าไปมาก ยุค 30s เป็นช่วงเวลาแห่งการทดลอง ต้อนรับสู่ศักราชใหม่ของภาพยนตร์ ก้าวมาถึงยุค 40s มันคือการก้าวเดินไปข้างหน้าแล้ว แต่ Chaplin กลับเพิ่งเริ่มต้น มันจึงเหมือนการก้าวย้ำอยู่กับที่ เดินหน้า 2 ก้าว ถอยหลัง 1 ก้าว

เชื่อว่าคนสมัยนั้น ต้องมีคนที่ดูหนังเรื่องนี้ เพราะชื่อ Charlie Chaplin แล้วคิดว่านี่เป็นหนังเงียบ (ผมก็เคยคิดว่านี่น่าจะเป็นหนังเงียบนะครับ ไม่คิดว่า Chaplin จะเล่นหนังพูดได้ด้วย)

ถึงหนังจะบอกว่าช่างตัดผมกับ Hynkel ไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไร แค่มีใบหน้าคล้ายๆกัน แต่ผมแอบเห็นความสัมพันธ์ของทั้งคู่คือ คนหนึ่งเป็นผู้นำอยู่เหนือคนอื่น อีกคนหนึ่งเป็นช่างตัดผมที่ยุ่งกับหัวคนอื่น ถือว่าเล่นของสูงเหมือนกัน, ฉากโกนหนวด มันเหมือนว่า Chaplin กำลังล้อเลียนกับหนวดทรงแปรงสีฟันของ Hitler อยู่นะครับ (ว่าเป็นอะไรที่น่าโกนออกมากๆ)

การสลับตัวระหว่างช่างตัดผมกับ Hynkel ในตอนท้าย (พล็อตนี้เข้าใจผิดจะเห็นได้อยู่ตลอดเรื่อง ที่เด่นๆเลยคือตอนช่างตัดผมคิดว่า Hannah เป็นผู้ชายเลยจะโกนหนวดให้) มีจุดประสงค์เพื่ออยากจะให้ผู้นำทั้งหลายทั่วโลกเข้า ใจคำว่า ‘เอาใจเขามาใส่ใจเรา’ เวลาจะทำอะไรให้คิดหน้าคิดหลัง คิดถึงประชาชน ถ้าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นกับตัวท่านเองจะรู้สึก อย่างไร, ผมชอบแนวคิดนี้นะครับ แต่ Chaplin ได้ทำสิ่งที่แปลกประหลาดมากๆอย่างหนึ่ง นั่นคือการให้ช่างตัดผมกล่าวสุนทรพจน์ตอนจบ มันเป็นอะไรที่ไม่เข้ากับหนังเลยสักนิด แต่นี่เป็นสิ่งที่ Chaplin นั่งยันนอนยัน ยืนยันเลยว่าต้องจบแบบนี้เท่านั้น อาจเพราะด้วยคำพูดประโยคหนึ่ง

We think too much and feel too little. More than machinery, we need humanity. More than cleverness, we need kindness and gentleness. Without these qualities, life will be violent and all will be lost.

ไม่มีการกระทำใดที่สามารถแสดงออกซึ่งคำพูดเหล่านี้ได ้ มันจึงต้องพูดออกมาให้ได้เท่านั้น

ตอนจบแบบนี้ ผมถือว่าเป็นตำหนิของหนังนะครับเพราะทำให้จังหวะความ ต่อเนื่องที่หนังสร้างมาพังทลายลง ด้วยความไม่สมเหตุสมผลและไม่เข้ากัน แม้ว่าปัจจุบันสิ่งนี้เราจะสามารถมองได้เป็นลักษณะขอ ง Cult Culture ที่แปลกประหลาดไม่เหมือนใคร นักวิจารณ์หลายท่านเลือกมองข้ามตำหนินี้แล้วยกย่องคว ามตั้งใจของผู้กำกับ, แต่ไม่รู้ทำไมกับหนังเรื่องนี้ ผมมองข้ามมันไม่ได้เสียอย่างนั้น

หนังเรื่องนี้ถูกแบนในทุกประเทศที่ Nazi ปกครอง ประเทศสเปน (ขณะนั้นจอมพล Francisco Franco ปกครองอยู่) และแถบอเมริกาใต้, เห็นว่า Hitler ได้ดูหนังด้วยนะครับ มีบันทึกไว้ว่า 2 รอบ แต่ไม่มีการพูดถึงความรู้สึกของเขาหลังจากที่ดู, แต่มีครั้งหนึ่ง Hitler บอกว่าเขาชื่นชม Charlie Chaplin ในฐานะนักแสดงที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกที่เป็น Jewish (Hitler คิดว่า Chaplin เป็น Jewish หลังจากดูหนังเรื่องนี้)

5 สาขา Oscar ที่ได้เข้าชิงประกอบด้วย Best Picture, Best Actor (Chaplin แพ้ให้กับ James Stewart), Best Supporting Actor, Best Writing (Original Screenplay) และ Best Music น่าเสียดายไม่ได้สักรางวัล

ถ้าคุณชอบหนังแนวล้อเลียน เสียดสี เส้นตื้นๆ รู้จัก Hitler หรือเคยดู Triumph of the Will แนะนำให้หาหนังมาดูนะครับ, แฟนหนังของ Charlie Chaplin คงไม่พลาดอยู่แล้ว

จัดเรต 15+ แนวล้อเลียน เสียดสีไม่ใช่หนังที่ควรเอาให้เด็กดูเลยนะครับ เพราะพวกเขาจะจดจำ-เข้าใจ-เชื่อและอาจทำอะไรผิดๆได้

ที่มา : https://raremeat.blog/the-great-dictator-1940/

เนทบ้าน ปล่อย 23/7

MI
General
Unique ID : 225047725655915756904706183009916303814 (0xA94E9D8942FE1E1FB7A211EA911A39C6)
Complete name : C:Charlie Chaplin - The Great Dictator (1940)The Great Dictator (1940) 1080p.mkv
Format : Matroska
Format version : Version 1
File size : 8.94 GiB
Duration : 2 h 5 min
Overall bit rate : 10.2 Mb/s
Encoded date : UTC 2011-10-19 01:09:53
Writing application : mkvmerge v2.5.1 ( He Wasn t There ) built on Feb 22 2009 18:19:47
Writing library : libebml v0.7.7 + libmatroska v0.8.1

Video
ID : 1
Format : AVC
Format/Info : Advanced Video Codec
Format profile : [email protected]
Format settings : CABAC / 4 Ref Frames
Format settings, CABAC : Yes
Format settings, RefFrames : 4 frames
Codec ID : V_MPEG4/ISO/AVC
Duration : 2 h 5 min
Bit rate : 8 487 kb/s
Width : 1 440 pixels
Height : 1 080 pixels
Display aspect ratio : 4:3
Frame rate mode : Constant
Frame rate : 23.976 FPS
Color space : YUV
Chroma subsampling : 4:2:0
Bit depth : 8 bits
Scan type : Progressive
Bits/(Pixel*Frame) : 0.228
Stream size : 7.25 GiB (81%)
Title : The.Great.Dictator.1940.1080p.BluRay.x264
Writing library : x264 core 94 r1583 7608d73
Encoding settings : cabac=1 / ref=4 / deblock=1:0:0 / analyse=0x3:0x133 / me=umh / subme=7 / psy=1 / psy_rd=1.00:0.00 / mixed_ref=1 / me_range=16 / chroma_me=1 / trellis=1 / 8x8dct=1 / cqm=0 / deadzone=21,11 / fast_pskip=0 / chroma_qp_offset=-2 / threads=12 / sliced_threads=0 / nr=0 / decimate=1 / interlaced=0 / constrained_intra=0 / bframes=3 / b_pyramid=2 / b_adapt=1 / b_bias=0 / direct=1 / weightb=1 / weightp=2 / keyint=250 / keyint_min=25 / scenecut=40 / intra_refresh=0 / rc_lookahead=40 / rc=2pass / mbtree=1 / bitrate=8487 / ratetol=1.0 / qcomp=0.60 / qpmin=10 / qpmax=51 / qpstep=4 / cplxblur=20.0 / qblur=0.5 / ip_ratio=1.40 / aq=1:1.00
Language : English
Default : Yes
Forced : No

Audio #1
ID : 2
Format : DTS
Format/Info : Digital Theater Systems
Codec ID : A_DTS
Duration : 2 h 5 min
Bit rate mode : Constant
Bit rate : 1 509 kb/s
Channel(s) : 2 channels
Channel layout : L R
Sampling rate : 48.0 kHz
Frame rate : 93.750 FPS (512 SPF)
Bit depth : 16 bits
Compression mode : Lossy
Stream size : 1.32 GiB (15%)
Title : ENG_DTS
Language : English
Default : No
Forced : No

Audio #2
ID : 3
Format : AC-3
Format/Info : Audio Coding 3
Commercial name : Dolby Digital
Codec ID : A_AC3
Duration : 2 h 5 min
Bit rate mode : Constant
Bit rate : 224 kb/s
Channel(s) : 2 channels
Channel layout : L R
Sampling rate : 48.0 kHz
Frame rate : 31.250 FPS (1536 SPF)
Bit depth : 16 bits
Compression mode : Lossy
Stream size : 201 MiB (2%)
Title : Lao Northeastern AC3 2.0 By O Sarakham
Language : Lao
Service kind : Complete Main
Default : Yes
Forced : No





http://cornfile.com/ffg4tdqrkalp
http://www.filecondo.com/dl.php?f=x4df47bOUED9