หากจะให้อธิบายแก่นของหนังอย่าง Da 5 Bloods ให้ง่ายที่สุดมันก็จะถูกจำกัดความด้วย สงครามเวียดนาม และ ประเด็นการเรียกร้องพื้นที่ในประวัติศาสตร์ให้คนสัญช าติแอฟริกัน อเมริกัน แต่เพิ่มเรื่องของการผจญภัยตามล่าขุมทองและอัฐิของเพ ื่อนร่วมรบ แต่หากไปนึกภาพว่ามันจะเป็นหนังสงครามที่เอะอะยิงกัน หรือ ย้อนอดีตไปเล่าวีรกรรมทหารหาญผิวสีล่ะก็อาจมีเหวอได้ เพราะในบรรดาแนวหนังที่ผสม ๆ กันมันถูกบอกเล่าผ่านวิสัยทัศน์ของสไปค์ ลี คนทำหนังชาวแอฟริกัน อเมริกัน ที่มักบอกเล่าเรื่องราวเสียดสีสังคมโดยเฉพาะประเด็นเ ชื้อชาติและชีวิตที่ต้องดิ้นรนของพี่น้องชาวแอฟริกัน อเมริกันของตน

ว่ากันถึงบริบทของประวัติศาสตร์สงครามเวียดนามกันก่อ น โดยในการรับรู้ของชาวโลกมันคือสงครามที่อเมริกาได้เข ้ามาแทรกแซงการเมืองของเวียตนาม ลาว และกัมพูชาจนเกิดการปะทะกันขึ้นเพียงเพราะอเมริกาอยา กจะเล่นบทตำรวจโลก ทำให้คนชาติเดียวกันถือปืนมาห้ำหั่นกันเอง และก็เป็นสหรัฐอเมริกาที่กลับไปพร้อมความปราชัย และแผลเป็นทางประวัติศาสตร์

และสำหรับโลกภาพยนตร์เองก็เคยบันทึกความอัปยศของสงคร ามเวียตนามไว้หลายเรื่อง ที่โดดเด่นที่สุดคงหนีไม่พ้น Apocalypse Now (1979) หนังสงครามเวียดนามขึ้นหิ้งของฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา และ The Deer Hunter (1978) ของไมเคิล ชิมิโนกับฉากรัสเซียน รูเล็ตในตำนาน ที่สร้างคุณูปการแก่วงการไว้มากมาย และที่โดดเด่นไม่แพ้กันก็คือไตรภาคเวียดนามทั้ง Platoon (1986), Born on the Forth of July (1989) และ Heaven & Earth (1993) ของอดีตนักข่าวสงครามอย่าง โอลิเวอร์ สโตน ที่ถ่ายทอดความอัปยศอดสูของสงครามที่มีการเมืองขับเค ลื่อน

แต่สิ่งที่ Da 5 Bloods บอกเล่ากลับทวีความซับซ้อนเสียยิ่งกว่าฝ่ายการเมืองส ่งทหารอเมริกันไปตายเหมือนหนังเรื่องอื่น เพราะจากชื่อหนังที่ไปแทนค่าเป็นกลุ่มแก๊งทหารชาวแอฟ ริกันอเมริกัน 5 คนในนาม Bloods ที่เริ่มจากการสาบานเป็นพี่น้องร่วมตายในศึกครั้งนี้ ที่สุดท้ายจบด้วยความตายของหัวหมู่ทะลวงฟันอย่าง สตอร์มิน นอร์แมน (แชตวิค บอสแมน หรือ ฝ่าบาทแห่ง Black Panther) จนเป็นที่มาของภารกิจในอีก 45 ปีต่อมาที่เหล่าอดีตสหายศึกอย่าง พอล (เดลรอย ลินโด) ที่ได้รับผลกระทบด้านจิตใจจนเกิดเป็นโรค PTSD เอ็ดดี (นอร์ม ลิวอิส) นักธุรกิจถังแตก เมลวิน (ไอเซียอา ไวต์ล็อก จูเนียร์) ที่ติดยาแก้ปวด และ โอทิส (คลาร์ก ปีเตอร์ส) อดีตพลาธิการที่มีความสัมพันธ์กับสาวเวียตนามจนเกิดล ูกนอกสมรส

ดังนั้นสถานการณ์ของหนังครึ่งแรกเลยจะตัดสลับระหว่าง เหตุการณ์ในปัจจุบันที่เหล่าสหาย Bloods สี่คนที่เหลือเดินทางกลับมาที่เวียดนามในเวลาเกือบคร ึ่งศตวรรษเพื่อจะพบว่าความขัดแย้งและผลพวงของสงครามย ังคงอยู่ กับภาพย้อนอดีตที่ซ้อนทับกับเหตุการณ์ปัจจุบันเพื่อป ูให้เห็นจุดมุ่งหมายของตัวละครที่ต้องการกลับมาหาทอง ที่พวกเขาฝังไว้พร้อมศพของทหารร่วมรบอย่างนอร์แมน และการเข้าไปเกี่ยวพันกับธุรกิจมืดเพื่อให้พวกเขาสาม ารถขนทองออกจากเวียดนามได้

ซึ่งเราคงต้องยอมรับว่าครึ่งแรกของหนังคือช่วงปรับจู นคนดูอย่างแท้จริง เพราะมันผสมผสาน “สาร” ที่ผู้กำกับอยากจะเล่าเต็มไปหมดทั้งผลพวงของสงครามเว ียดนามที่มาทั้งกลืนไปกับเนื้อเรื่องอย่างกรณีแฟนสาว ของโอทิส และบรรดาชาวเวียดนามที่มาสะกิดแผลเป็นของสงครามที่กั ดกร่อนจิตใจ รวมไปถึงสารที่เหมือนอยู่นอกอาณาเขตของเรื่องราวอย่า งบทบาทชาวแอฟริกันอเมริกันในสงครามเพื่อประเทศชาติที ่มักจบลงด้วยการเป็นฮีโรที่ถูกลืม และสถานะของพวกเขาในประเทศก็ยังคงเป็นพลเมืองชั้นสอง อยู่ดี

และแม้ยี่ห้อ สไปค์ ลี จะจัดจ้านในประเด็นเรื่องสีผิว ความขัดแย้งทางชนชั้น มาตั้งแต่ Do the right thing (1989) แต่เมื่อการนำตัวละครที่ยังคงเป็นแอฟริกันอเมริกันแต ่เปลี่ยนถิ่นมาอยู่ใน เวียดนาม ดินแดนที่เคยเป็นฝันร้ายของพวกเขา และในขณะเดียวกันก็เป็นเหล่า Bloods เองที่ผลักให้คนเวียดนามอดีตศัตรูของพวกเขากลายเป็นล ูกกำพร้า ไร้ญาติ ไปจนสร้างลูกนอกสมรสที่กลายเป็นแกะดำให้คนในประเทศย่ ำยี

และโดยที่หนังไม่บอกเล่ากับเราโดยตรงการกลับมาเที่ยว (tour) ครั้งนี้ของกลุ่ม Bloods ก็ไม่ได้ต่างจากการมาประจำการรบ (tour) ที่ไม่บอกก็รู้ว่านี่คือการเล่นคำกับกิจกรรมของตัวละ ครเพราะมันถูกเชื่อมด้วยคำว่า tour เหมือนกัน เพราะท้ายที่สุดหนทางที่นำพวกเขาไม่ว่าจะไปเพื่อขุดห าอัฐิของนอร์แมนหรือทองคำแท่งมูลค่ามหาศาลก็คือการกล ับไปสู่ความขัดแย้งในครึ่งหลัง เพราะที่ที่พวกเขาไปก็ยังเต็มไปด้วยกับระเบิด และการต้องเผชิญหน้ากับทหารรับจ้างที่ต้องการทองของพ วกเขา

เอาล่ะ ฟังดูเหมือนผมจะบอกว่าอดทนกับครึ่งแรกหน่อย รับรองครึ่งหลังมันส์แน่นอนใช่มั้ยครับ ถ้าเข้าใจอย่างนั้นก็ต้องบอกว่าคุณคิด…..ถูก ! เพราะในขณะที่หนังครึ่งแรกเต็มไปด้วยสารที่เกือบจะกล ายเป็นสารคดีเรียกร้องสิทธิ์ให้ชาวแอฟริกันอเมริกันอ ยู่รอมร่อ แต่ในครึ่งหลังด้วยความที่มันมีจุดเปลี่ยนจากการที่ห นังพาตัวละครกลุ่ม Bloods ที่มี เดวิด (โจนาธาน เมเจอร์ส) เพิ่มเข้ามาและได้พบกับกลุ่มปลดระวางกับระเบิดจากสงค รามเวียดนามนำโดย เฮดี (เมอลานี เธียร์รี) สาวสวยชาวฝรั่งเศสที่เดวิดแอบหมายปอง ก็ทำให้มันพาเรื่องราวไปสู่ช่วงชำระบาปในครึ่งหลังที ่สไปค์ ลี ดูจะคุมทิศทางหนังได้อยู่หมัดกว่าครึ่งแรกอย่างเห็นไ ด้ชัด

เพราะครึ่งหลัง ลี ได้ผสมกันระหว่างดรามาของทหารที่มีบาดแผลจากสงครามแฝ งไปกับภารกิจผจญภัยหาทองสุดระทึก และในขณะที่แฟนแดนตายของเขากำลังคิดว่า ลี ขายวิญญาณไปกับการทำหนังเอาใจตลาดก็ดันมีฉากสารภาพบา ปที่ใช้สไตล์การทลายกำแพงที่ 4 หรือ Break the forth wall แล้วให้ตัวละคร พอล ที่แสดงได้อย่างเดือดสุดโดย เดลรอย ลินโด ได้อิมโพรไวส์บทแสดงความคลั่งและสารภาพบาปที่อัดอั้น จนเขากลายเป็นโรค PTSD ได้อย่างยอดเยี่ยม

และนอกจากการผสานความสนุกเข้ากับสไตล์ส่วนตัวแล้ว ในครึ่งหลังการที่มันมีตัวละครอย่าง เฮดี และ พวกก็ช่วยให้เกิดภาพเปรียบเทียบระหว่างคนที่จะมาลบล้ างผลพวงด้วยการปลดระเบิดออกจากดงกับระเบิด กับ อีกฝ่ายที่คิดแต่ “สิทธิของคนดำ” จนหลงลืมไปว่าผู้ได้รับผลกระทบจากสงครามครั้งนั้นไม่ ได้มีแค่พวกเขา เพราะต่อให้พวกเขาจะจบท้ายด้วยการเป็นคนถังแตก เจ็บป่วย หรือ ติดยา แต่อันตรายจากสงครามคือยังอยู่ในแดนสงครามที่เดิมที่ ชาวบ้านต้องเสี่ยงชีวิตทุกวันนั่นเอง

และไหน ๆ เมื่อพูดถึงสไตล์การกำกับของ สไปค์ ลี แล้ว ก็ขอทิ้งท้ายที่การเลือกใช้อัตราส่วนภาพของหนัง ที่แม้ข้อมูลจาก IMDB จะบอกในส่วนของอัตราส่วนภาพ (Aspect Ratio) แค่ 1.33:1 (ภาพจอแคบ 4:3) สำหรับฉากย้อนอดีต (flashback) และ 2.39:1 (ภาพจอกว้างหรือ Anamorphic Widescreen) สำหรับภาพปัจจุบัน แต่หากได้ดูหนังจริง ๆ มันจะมีอัตราส่วนอีกอัตราส่วนในยุคปัจจุบันคือ 1.85 : 1 คือภาพที่เต็มจอทีวีพอดี ซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วก็เห็นได้เลยว่าการที่ นิวตัน โธมัส ซีเกล ผู้กำกับภาพเลือกฟิล์มสต็อก และ ถ่ายดิจิทัลต่างกันเป็นการผสานเทคนิคเพื่อโน้มน้าวอา รมณ์คนดูได้อย่างละเอียดอ่อนที่สุด



http://cornfile.com/lihfe3aqttcu